กว่าจะได้งานทำแต่ละครั้ง พนักงานบริษัท หรือ “ว่าที่” พนักงานบริษัทที่เป็นน้อง ๆ จบใหม่จากรั้วมหาวิทยาลัยต่างก็ต้องผ่านหลายขั้นตอนในการสมัครงาน ตั้งแต่การยื่นเรซูเม่ สอบวัดระดับต่าง ๆ ไปจนถึงด่านสุดท้ายซึ่งไปด่านชี้ชะตาว่าคุณจะได้ทำงานนี้หรือไม่ นั่นก็คือ “การสัมภาษณ์งาน” เพื่อ แนะนำตัวเอง ให้เป็นที่รู้จัก เพราะบริษัทจะได้รู้จักตัวคุณจริง ๆ ผ่านการพูดคุยและคำถามต่าง ๆ ได้ดูเรื่องบุคลิกภาพ ทักษะไหวพริบ และทัศนคติของคุณผ่านการพูดคุยระหว่างที่สัมภาษณ์
ดังนั้นถ้าใครยื่นใบสมัครงาน ยื่นเรซูเม่ไปแล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อมาก็คือเตรียมตัวให้พร้อม เพื่อให้การสัมภาษณ์งานครั้งนี้ของคุณผ่านฉลุย โดยคำถามที่ร้อยทั้งร้อยต้องเจอก็คือ “แนะนำตัวเอง ให้เราฟังหน่อย?” แล้วเราจะแนะนำตัวเองอย่างไรดีให้เตะตากรรมการตั้งแต่แรกเจอในห้องสัมภาษณ์งาน
แน่นอนว่าเราต้องแนะนำ ชื่อ-นามสกุล ของตัวเองก่อนเป็นอันดับแรก และตามมาด้วยการศึกษาว่าจบจากที่ไหนมา และมีความสนใจอะไรบ้าง โดยที่ความสนใจในที่นี้ให้เน้นไปที่เรื่องงานเป็นหลัก เช่น ชอบสังเกตพฤติกรรมคนการใช้ของของคนรอบตัว เลยอยากทำงานด้านการตลาดเพราะได้วิเคราะห์พฤติกรรมคนและหาทางวางแผนการตลาดให้ตรงใจกลุ่มเป้าหมาย
ถ้าใครเป็นเด็กจบใหม่อาจจะเล่าเพิ่มเติมในส่วนของกิจกรรมที่เคยได้ทำมา ที่เกี่ยวข้องกับงานหรือตำแหน่งที่กำลังสมัครอยู่ ในช่วงมหาวิทยาลัย แต่ถ้าใครมีประสบการณ์ทำงานมาบ้างแล้ว ก็สามารถเล่าได้เลยว่าเราเคยทำงานอะไรมา มี achievement อะไรจากงานเก่ามาบ้าง
โดยที่พยายามยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น เคยได้รับมอบหมายให้คิดแผนการตลาดใหม่ให้กับสินค้าเดิมที่ยอดขายตก โดยเจาะกลุ่มคนเจน Z และสามารถทำยอดขายเพิ่มขึ้นได้ 20% เป็นต้น
เชื่อแน่ว่า หลายบริษัทมักจะ challenge ผู้ถูกสัมภาษณ์ด้วยการถามถึงจุดอ่อนที่คุณมี โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเรซูเม่ของคุณบอกจุดอ่อนนั้นไว้แล้ว เช่น มีช่วงระยะเวลาว่างงานเป็นหลักปี หรือมีประวัติย้ายงานบ่อย ทำงานได้ไม่นานก็ลาออก จุดอ่อนเหล่านี้คุณสามารถอธิบายสั้น ๆ
หลังจากแนะนำตัวในช่วงแรกได้เลย เช่น ช่วงระหว่างงานแรกกับงานที่สอง ได้ใช้เวลาว่างงาน 1 ปีเพื่อไปลงเรียนภาษาที่ต่างประเทศ พร้อมกับค้นหาตัวเองว่าอยากทำอะไรจริง ๆ หรือถ้าเป็นกรณีเปลี่ยนงานบ่อย ทำงานได้ไม่นานก็ออก อาจจะตอบว่าตัวเนื้องานที่ได้รับมอบหมายเป็นงานน่าสนใจ คุณได้เรียนรู้อะไรหลายอย่างจากงานนี้ แต่อาจจะไม่ตรงกับเป้าหมายหลักของคุณ
คุณไม่จำเป็นต้องเล่าทักษะทุกอย่างที่คุณมีตั้งแต่ตอนแนะนำตัว ให้คัดเฉพาะส่วนที่เป็นไฮไลต์ที่มีความเกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานที่คุณกำลังสมัครอยู่ก็พอ เพื่อให้ผู้สัมภาษณ์ได้รู้ว่าคุณก็มีดี และทักษะเหล่านี้จะเอามาช่วยงานในบริษัทได้อย่างไร
ถ้าเขาเห็นแล้วว่าทักษะที่คุณมีตรงกับความต้องการของบริษัทอยู่พอดี ผู้สัมภาษณ์ก็จะจดจำคุณได้ดีขึ้น และคุณเองก็จะมีโอกาสได้งานเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน
เล่าสั้น ๆ ตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ของการสัมภาษณ์งานว่าคุณมีแพชชั่นอะไรเป็นพิเศษ และวางเป้าหมายในชีวิตของคุณไว้อย่างไรบ้าง โดยที่พยายามพูดเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานและบริษัทที่คุณกำลังสัมภาษณ์งานอยู่ เช่น จากงาน HR ที่ได้ทำมา คุณมีความเชื่อว่าการหาคนให้เหมาะกับงานเป็นสิ่งที่ทุกบริษัทควรทำ และตำแหน่ง HR ควรมีกลยุทธ์ที่จะดึงดูดคนที่ใช่ และคุณเองก็มีเป้าหมายที่อยากเป็นฟันเฟือนของบริษัทเพื่อที่จะหาคนที่ใช่ร่วมงานด้วย
เพราะว่าในห้องสัมภาษณ์นอกจากบุคลิกภาพและความมั่นใจที่สำคัญแล้ว การตอบคำถามอย่างชาญฉลาด และการแนะนำตัวที่ดี ไม่ยืดเยื้อ กระชับ เน้นในสาระที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานที่กำลังสมัคร เป็นอาวุธสำคัญที่จะช่วยสร้าง First impression ที่ดี จนทำให้คุณได้งานในฝันในที่สุด
ถ้าพร้อมแล้ว ไปค้นหาตำแหน่งงานที่ใช่ ในบริษัทที่คุณต้องการได้ที่ แอปพลิเคชั่น JobsDB แอปหางาน ที่มีตำแหน่งงานให้คุณค้นหามากที่สุดในประเทศไทย
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android