หากคุณมองเห็นตึกระฟ้าที่สวยงามในมหานครต่าง ๆ แล้วล่ะก็ คุณอาจจะทราบได้ว่าผู้ที่มีส่วนสำคัญในการสร้างตึกสูงเหล่านั้นก็คือวิศวกรรมโยธานั่นเอง ในทุกวันนี้จะเห็นได้ว่าอาชีพนี้เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการสร้างสิ่งใหม่ ๆ เพราะหน้าที่สำคัญของวิศวกรรมโยธา คือ การวางแผนก่อสร้าง การวางระบบสิ่งอำนวยสะดวกที่สำคัญไปจนถึงการพัฒนาระบบโครงสร้างให้ผู้ดูงานอีกด้วย
วิศวกรโยธานั้นก็เปรียบเสมือนผู้ที่เป็นส่วนเชื่อมต่อของทั้งทีม อาชีพนักวิศกรรมโยธาจึงแบ่งออกไปได้หลากหลายสาขา หากคุณรู้สึกว่าอาชีพวิศวกรโยธาเป็นอาชีพที่ใช่สำหรับคุณแล้ว คุณก็สามารถเลือกสาขาย่อย ที่เหมาะกับตัวเองได้อีก
ในประเทศไทยนั้น ตำแหน่งวิศวกรโยธา ถือเป็นหนึ่งในตำแหน่งที่ ผู้ประกอบการ ต้องการสูง เพราะการจะสร้างอาคารหรือการพัฒนาสถานที่แต่ละครั้งนั้นจะต้องมีวิศวกรผู้รับผิดชอบด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจพื้นที่ที่จะใช้ก่อสร้าง การวางแผนประเมินราคาก่อสร้าง การดูแลระบบไฟฟ้าและวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง ไปจนถึงการดูแลสิ่งแวดล้อมระหว่างการก่อสร้างและการปรับปรุงคุณภาพของเสียที่เกิดขึ้นจากการก่อสร้าง ดังนั้น ก่อนที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับเส้นทางสายอาชีพวิศวกรโยธา ลองมาดูกันว่า สายงานของอาชีพนี้ สามารถแตกไปที่สาขาไหนได้บ้าง เพราะการเลือกสาขาที่เหมาะกับคุณที่สุดนั้น อาจจะไม่ใช่แค่เรื่องความชอบความสนใจส่วนตัวเพียงอย่างเดียว เพราะแต่ละสาขานั้นก็มีรูปแบบการทำงานที่แตกต่างกันไป ก่อนที่จะเลือกสาขาอาจจะต้องถามตัวเองก่อนว่า นอกจากความชอบแล้ว พร้อมจะทำงานตามสาขานั้น ๆ หรือไม่ วันนี้ JobsDB มาพร้อมกับ รายละเอียดเส้นทางสู่การเป็นวิศวกรโยธาให้คุณได้เรียนรู้ว่าแต่ละสาขามีความแตกต่างกันอย่างไรและสาขาไหนที่จะเหมาะกับคุณบ้าง
วิศวกรรมโยธานั้นมีสาขาขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญแต่ละด้าน โดยมีสาขาแยกออกมาดังนี้
วิศวกรรมโยธาสาขาต่าง ๆ
วิศวกรรม ก่อสร้าง
วิศวกรรมก่อสร้างจะเป็นผู้ที่รับผิดชอบด้านการก่อสร้างและการจัดการ สิ่งที่สำคัญคือ ต้องสามารถเรียนรู้และแปลผลจากแบบในพิมพ์เขียวให้ออกเป็นอาคารหรือสิ่งก่อสร้างจริง ๆ ได้ โดยทุกรายละเอียดที่อยู่ในแบบที่ได้มานั้น จะต้องถูกตรวจสอบโดยละเอียด และมีการวางแผนงานการก่อสร้างให้ตรงตามแบบอีกด้วย
นอกจากการวางแผนก่อสร้างแล้ว วิศวกรก่อสร้างยังต้องประเมินราคา ระยะเวลา และมาตรฐานของที่ใช้ในการก่อสร้างอีกด้วย หากคุณต้องการเรียนและทำงานในสายนี้ คุณจะได้ทำงานที่หน้างานก่อสร้างเป็นส่วนใหญ่ และจะต้องคอยตรวจดูโครงการก่อสร้างตั้งแต่เริ่มต้นจนแล้วเสร็จ นอกจากจะดูส่วนของการก่อสร้างโดยตรงแล้ว ยังต้องคอยดูแลเรื่องการทำงานของคนงานที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคนงานก่อสร้าง สถาปนิก นักออกแบบ ช่างไฟฟ้า และช่างประปา ทั้งนี้ วิศวกรก่อสร้างยังต้องคอยดูแลเรื่องกฎหมายการก่อสร้างที่เกี่ยวข้อง และทำให้มั่นใจว่าการดำเนินการในการก่อสร้างเป็นไปอย่างถูกต้อง รวมไปจนถึงการตรวจสอบวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ว่าได้มาตรฐานหรือไม่ และระหว่างดำเนินการก่อสร้างนั้น มีปัจจัยอะไรก่อให้เกิดอันตราย และได้มีระบบความปลอดภัยที่ดีหรือไม่อีกด้วย
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ถือเป็นหนึ่งในสาขาที่มีความสำคัญมาก เพราะเป็นสาขาที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมรอบข้างเป็นอย่างมาก วิศวกรสาขานี้ ต้องพร้อมที่จะช่วยแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดจากการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็น มลภาวะทางอากาศ มลภาวะทางน้ำ ผลกระทบทางเคมี การบำบัดและจัดการของเสีย ไปจนถึงการดูแลท่อน้ำทิ้ง
วิศวกร สิ่งแวดล้อม ต้องสามารถแนะนำได้ว่าการใช้แสงธรรมชาติเข้ามาช่วยในการก่อสร้าง สามารถทำได้อย่างไร การพัฒนาระบบประปราเพื่อลดน้ำเสีย หรือนำน้ำเสียมาใช้ใหม่ได้อย่างไร ไปจนถึง การส่งเสริมให้ใช้วิธีรีไซเคิลในการก่อสร้าง และใช้พลังงานจากธรรมชาติเพื่อให้ระบบงานก่อสร้างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด ดังนั้นหน้าที่หลักของวิศวกรสิ่งแวดล้อมคือการดูแลสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ โครงการให้ถูกรบกวนน้อยที่สุด และระบบการก่อสร้างนั้นถูกต้องตามหลักการรักษาสิ่งแวดล้อม
วิศวกรรมธรณี
หากคุณเป็นคนที่ชื่นชอบคุณสมบัติทางด้านฟิสิกส์ วิศวกรรมของหิน และธรณีวิทยาประยุกต์แล้ว วิศวกรรมธรณีก็เป็นสายที่คุณควรจะเลือกแน่นอน หน้าที่หลักของวิศวกรธรณีคือการดูแลวัสดุที่ใช้ในโครงการก่อสร้างว่าจะมีผลกระทบอย่างไรบ้าง งานส่วนใหญ่ของวิศวกรธรณีจะเกี่ยวข้องกับงานโครงการใหญ่ที่มีการขุดเจาะ หรือมีการใช้เครื่องขุดเจาะพื้นดิน
สถานที่ทำงานของนวิศวกรธรณีมักจะเป็นในห้องแล็บเป็นส่วนใหญ่ เพราะต้องทำการทดสอบวัสดุมากมายหลายชนิดที่อาจส่งผลกระทบต่อโครงสร้างอาคาร โดยวิศวกรสาขานี้จำเป็นต้องทดสอบให้มั่นใจว่าดินและหินที่ใช้ในโครงการสามารถเป็นโครงสร้างที่ดีและมั่นคงได้ และต้องทำให้มั่นใจว่าวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างจะไม่ทำให้เกิดอันตรายในภายหลัง และมีแรงทนทานต่อภัยธรรมชาติอย่างแผ่นดินไหว การเกิดหลุมยุบ หรือ ดินถล่มได้ นอกจากหน้าที่หลักเหล่านี้ยังต้องมีการทดสอบประเภทของดินชนิดต่าง ๆ สภาพของชั้นใต้ดิน ทดสอบการชุดเจาะ และเช็กค่าความชื้นอีกด้วย
วิศวกรรมทางทะเล
วิศวกรทางทะเลจะเป็นผู้ที่ดูแล ซ่อมแซม ยานพาหนะทางทะเลทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรือโดยสาร ยอร์ช หรือเรือเล็กก็ตาม โดยหน้าที่หลักคือการออกแบบ ดำเนินการสร้าง และบำรุงรักษายานพาหนะทางน้ำทั้งหลาย นอกจากนี้ยังต้องคิดพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพของเรือต่าง ๆ อยู่เสมอ หน้าที่รองคือการเลือกวัสดุที่ใช้ในการสร้าง การตรวจสอบเครื่องยนต์เรือ และซ่อมแซมบำรุง ความรู้หลักที่วิศวกรทางทะเลต้องมีคือความรู้ด้านฟิสิกส์ ดังนั้นหากฟิสิกส์เป็นวิชาที่คุณชื่นชอบ วิศวกรทางทะเลก็เป็นหนึ่งในอาชีพที่น่าสนใจสำหรับคุณ
วิศวกรรมวัสดุ
วัสดุเป็นสิ่งสำคัญใน การก่อสร้าง และหน้าที่หลักของวิศวกรวัสดุคือการค้นคว้า และดูแลวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง โดยวิศวกรจะต้องดูว่าวัสดุประเภทไหนที่สามารถเข้ากันได้ วัสดุแบบไหนที่จะทนทานต่อแรงต้านภายนอก หรือวัสดุไหนเหมาะกับพื้นที่ก่อสร้างแบบไหน เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องสามารถคำนวณไปถึงระดับโครงสร้างของวัสดุได้เพื่อที่จะสามารถแนะนำได้ว่าควรใช้วัสดุแบบไหนที่จะคงทน มีประสิทธิภาพ และยั่งยืนที่สุด
วิศวกรรมโครงสร้าง
วิศวกรโครงสร้างเป็นผู้ที่ดูแลเรื่องการวางแผน การวิเคราะห์ การออกแบบ และการก่อสร้างโครงการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างอาคาร สะพาน ยานพาหนะ หรือเครื่องจักรเองก็ตาม เมื่อสถาปนิกได้ทำการวางแบบแล้ว วิศวกรโครงสร้างก็จะเป็นผู้วางแผน คำนวณวิเคราะห์ ออกแบบโครงสร้างของสิ่งก่อสร้าง และแรงต้านทานของวัสดุ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าอาคารหรือสิ่งก่อสร้างนั้นจะมีรากฐานที่แข็งแรง หน้าที่ของวิศวกรโครงสร้างจะเน้นการคำนวณเป็นหลัก และต้องมีการตรวจสอบการออกแบบเแปลนอาคารที่ส่งว่ามีปัจจัยใดที่อาจจะทำให้โครงสร้างอาคารไม่แข็งแรงหรือไม่ หากมีการเปลี่ยนแปลงแผนจะต้องมีการตรวจสอบอีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าโครงสร้างสิ่งก่อสร้างนั้น ๆ มีความมั่นคงแข็งแรงดี และเลือกใช้วัสดุได้ถูกต้อง
การเป็นวิศวกรโครงสร้างนั้น จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องจักรที่ใช้ในการก่อสร้างอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ในการตรวจสอบหน้างานก่อสร้าง และปรับโครงสร้างที่อาจเกิดความผุกร่อนอีกด้วย
วิศวกรรม ขนส่ง
วิศวกรรมขนส่งนับเป็นหนึ่งในสาขาที่สำคัญ เพราะชีวิตคนในปัจจุบันข้องเกี่ยวกับการเดินทางและขนส่งตลอดเวลา หน้าที่ของวิศวกรขนส่งคือการวางแผน ออกแบบ ก่อสร้าง ดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของการเดินทางของผู้โดยสารหรือการขนส่งสิ่งของในทุก ๆ ทาง ไม่ว่าจะเป็นทางถนน ทางหลวง ทางอุโมงค์ สะพาน ระบบรถไฟ ระบบการเดินทางทางน้ำ ระบบการเดินทางทางอากาศ หรือไปจนกระทั่งออกแบบการขนส่งอุปทาน เช่น น้ำ ผ่านทางท่อต่าง ๆ อีกด้วย
หน้าที่ของวิศวกรขนส่งนั้นเกี่ยวกับการคำนวณเป็นส่วนใหญ่ โดยวิศวกรจะต้องออกแบบและก่อสร้างระบบหรือสิ่งก่อสร้างที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับการขนส่ง นอกจากนี้ยังมีสาขาย่อยที่จัดการเกี่ยวการวางผัง การจราจร และการจัดการทางด้านงานจราจรอีกด้วย
วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ
วิศวกรรมทรัพยากรน้ำจะเป็นสาขาที่เน้นเรื่องการศึกษาแหล่งน้ำ การบังคับน้ำ การจัดการ และการใช้ประโยชน์จากน้ำ ตลอดจนการจัดการคุณภาพน้ำ หากคุณต้องการศึกษาต่อหรือทำงานในด้านนี้ คุณต้องสามารถคำนวณการออกแบบขนาดน้ำท่วม วางแผนการจัดการแหล่งน้ำ การนำน้ำกลับมาใช้ การวางแผนท่อระบายน้ำ และการสำรวจปริมาณน้ำ งานของวิศวกรทรัพยากรน้ำส่วนใหญ๋จะเกี่ยวข้องกับการวางแผนการก่อสร้างเขื่อน การทำระบบไฮดรอลิกส์ และวางแผนคลองส่งน้ำต่าง ๆ นอกจากนี้ยังสามารถทำเกี่ยวกับการออกแบบระบบชลประทาน และระบบน้ำดื่มอีกด้วย
มองหางานด้านวิศวกรรมโยธาที่เหมาะกับคุณ
หากคุณเห็นว่างานสายวิศวกรโยธาเป็นหนึ่งในงานที่ใช่สำหรับคุณแล้ว คุณสามารถลองสำรวจตัวเองดูว่า วิศวกรรมโยธาสาขาไหนที่เหมาะกับคุณมากที่สุด และสาขาไหนที่คุณมีคุณสมบัติที่ตรงกับตำแหน่งนั้น ๆ แล้วคุณสามารถสร้างโปรไฟล์แล้วมองหาตำแหน่งงานดี ๆ ที่เหมาะกับคุณได้ ที่นี่
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b9%83%e0%b8%9a%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%9a%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%8a%e0%b8%b2%e0%b8%8a%e0%b8%b5%e0%b8%9e%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%a8%e0%b8%a7%e0%b8%81%e0%b8%a3/
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%A3/