เครื่องจักรที่ว่าแข็งแกร่ง ก็ยังต้องมีวันที่ต้องซ่อมบำรุง แล้วประสาอะไรกับลูกจ้างเนื้อนิ่ม ๆ ตัวเป็น ๆ ที่จะต้องมีวันที่ป่วย ร่างกายอ่อนแออย่างแน่นอน “วันลาป่วย” จึงเป็นหนึ่งในสิทธิของคนทำงานที่ผู้ประกอบการควรทราบเป็นอย่างยิ่ง เพื่อจัดระเบียบการทำงานของลูกจ้างที่ล้วนแต่ตั้งใจทำงานให้องค์กร ซึ่งผู้ประกอบการอาจมีไอเดียที่จะต่อยอดสวัสดิการทางการแพทย์ และการรักษาพยาบาล เพื่อดึงดูดผู้หางานที่มีคุณภาพ และ รักษาพนักงาน ปัจจุบันให้อยู่กับองค์กรนาน ๆ
การลาป่วย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 32 กำหนดไว้ว่า "ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริงการลาป่วยตั้งแต่สามวันทำงานขึ้นไปนายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการในกรณีที่ลูกจ้างไม่อาจแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการได้ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ
ในกรณีที่นายจ้างจัดแพทย์ไว้ให้แพทย์นั้นเป็นผู้ออกใบรับรองเว้นแต่ลูกจ้างไม่สามารถให้แพทย์นั้นตรวจได้
วันที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้เนื่องจากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงานและวันลาเพื่อคลอดบุตรตามมาตรา41 มิให้ถือเป็นวันลาป่วยตามมาตรานี้"
ตามกฎหมายดังกล่าว สามารถสรุปหลักเกณฑ์โดยย่อได้ คือ
๑. ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง
๒. ลาป่วยตั้งแต่สามวันทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้แสดงใบรับรองแพทย์ได้
๓. หากนายจ้างจัดแพทย์ไว้แล้วในสถานประกอบการ ให้แพทย์นั้นเป็นผู้ออกใบรับรองแพทย์
๔. กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุอันเนื่องมาจากการทำงาน หรือวันลาเพื่อคลอดบุตร ไม่ถือว่าเป็นการลาป่วย
หลักการง่ายที่กฎหมายกำหนดคือป่วยจริง และหากลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงาน นายจ้างกำหนดให้มีใบรับรองแพทย์ได้
ลาป่วยไม่ถึง 3 วันนายจ้างกำหนดให้แสดงใบรับรองแพทย์ได้หรือไม่
เจตนารมย์ของกฎหมายกำหนดไว้เฉพาะกรณีลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไป นั่นแสดงว่าลาป่วยไม่ถึง 3 วัน หากป่วยจริง จึงไม่จำต้องแสดงใบรับรองแพทย์ก็ได้ ซึ่งกรณีนี้ส่วนใหญ่หรืออาจจะทั้งหมด นายจ้างจะกำหนดไว้ชัดเจนในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่า "ลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไปต้องแสดงใบรับรองแพทย์" นั่นเป็นการเขียนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ให้สอดคล้องกับกฎหมาย
ลาป่วย 3 วันทำงานขึ้นไป ไม่แสดงใบรับรองแพทย์ได้หรือไม่
กรณีนี้ต้องแยกพิจารณาสองประเด็นคือป่วยจริงหรือไม่จริง กับการแสดงใบรับรองแพทย์หรือไม่แสดง ความผิดและบทลงโทษ มีความแตกต่างกันไป กล่าวคือ
แต่กรณีที่ไม่แสดงใบรับรองแพทย์ตามระเบียบ ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการลา นายจ้างจึงมีสิทธิลงโทษกรณีไม่ปฏิบัติตามระเบียบการลาได้ แต่ถือว่าเป็นความผิดกรณีขาดงานละทิ้งหน้าที่
ทั้งสองกรณี จะเห็นว่าการกำหนดให้แสดงใบรับรองแพทย์ไม่ได้มีผลต่อการพิจารณาความผิดว่าป่วยจริง หรือไม่จริงเพราะการพิจารณาว่าป่วยจริงหรือไม่นั้น เป็นการพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเท่านั้น เป็นดุลยพินิจของนายจ้างที่จะพิจารณาตามความเป็นจริง แต่การแสดงใบรับรองแพทย์นั้น ถือว่าเป็นเอกสารที่ลูกจ้างสามารถแสดงให้นายจ้างเชื่อถือได้มากที่สุดว่าป่วยจริง ดีกว่าการอธิบายหรือหาพยานบุคคลมายืนยัน
กรณีหากเจอ พนักงานลาป่วยบ่อย
นายจ้างคงต้องพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ เช่น ในทางปฏิบัติอาจสั่งให้นำใบรับรองแพทย์มาแสดงทุกครั้ง เพื่อประกอบการพิจารณา (แต่กฎหมายไม่ได้กำหนดให้แสดง) แต่การสั่งให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์ทุกครั้ง เพื่อประกอบการพิจารณาเท่านั้น เนื่องจากพฤติกรรมลูกจ้างไม่น่าเชื่อถือ จึงต้องให้แสดงใบรับรองแพทย์ทุกครั้ง แต่หากลูกจ้างไม่แสดงแต่อธิบายหรือยืนยันได้ว่าป่วยจริง ก็เป็นสิทธิของลูกจ้าง เพราะกฎหมายไม่ได้บังคับ
หากเจอพนักงานลักษณะดังกล่าวแล้ว นอกจากจะให้แสดงใบรับรองแพทย์แล้ว ควรดูแลเป็นพิเศษ เช่น หากพบว่าลูกจ้างหยุดงาน หรือหายไป อาจส่งเจ้าหน้าที่บุคคลหรือตัวแทนคณะกรรมการสวัสดิการไปเยี่ยมเยือนซักหน่อย เพื่อดูแลช่วยเหลือ โดยไม่ให้รู้ตัว
สรุป
ที่มา : เว็บไซต์ บริษัท กฎหมายปาระมี
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ