ในปัจจุบันเว็บไซต์เป็นแหล่งข้อมูลยอดนิยมในการ หางาน การสร้างเว็บไซต์บริษัทให้น่าสนใจจึงมีส่วนอย่างมากในการดึงดูดคนเก่งให้มาร่วมงานกับคุณ ด้วยเคล็ดลับที่จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณตอบโจทย์ความต้องการของผู้ หางาน ดังนี้
ให้ข้อมูลอย่างมืออาชีพ
ก่อนที่ผู้หางานจะเข้า สัมภาษณ์งาน แน่นอนว่าพวกเขาจะต้องศึกษาข้อมูลบริษัทก่อน ซึ่งวิธีการ
ที่ง่ายและรวดเร็วที่สุดคือการเข้าไปยังเว็บไซต์ของบริษัท และนี่เป็นโอกาสอันดีที่คุณจะสร้างภาพลักษณ์ที่ดี
และความน่าเชื่อถือ ให้แก่บริษัทของคุณด้วยเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลอย่างมืออาชีพ รวมถึงการตรวจเช็คตัวสะกดต่าง ๆ ไม่ควรมีการพิมพ์ผิด เป็นต้น
แม้ว่าจะดูเป็นเรื่องง่าย ๆ แต่ก็เป็นปัจจัยสำคัญไม่น้อย คนทำงานที่เป็นมืออาชีพนั้นใส่ใจแม้กระทั่งรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ เช่นเดียวกับการที่คุณไม่ต้องการให้มีข้อผิดพลาดใด ๆ ในเรซูเม่ของผู้ สมัครงาน นั่นเอง
ให้ข้อมูลที่จะทำให้คุณโดดเด่น
ลองจินตนาการให้คุณเป็นผู้สมัครงาน คุณต้องการเห็นอะไรในเว็บไซต์ของบริษัท อะไรที่จะทำให้ผู้สมัครรู้สึกว่าบริษัทของคุณเป็นองค์กรที่น่าร่วมงานด้วย ในหน้าร่วมงานกับเรา ควรประกอบด้วยข้อมูลเหล่านี้
สวัสดิการของบริษัท
สวัสดิการเป็นส่วนหนึ่งซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่อการตัดสินใจร่วมงานกับบริษัทใดบริษัทหนึ่ง เช่น โบนัสการันตี การประกันสุขภาพกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ วันหยุดพักผ่อนประจำปี ค่าเล่าเรียนบุตร เป็นต้น หากคุณมีสวัสดิการที่นอกเหนือจากที่กล่าวมา คุณควรแจ้งไว้ด้วยเพื่อดึงดูดผู้สมัครงานได้ดียิ่งขึ้น เช่น มีรถบริษัทให้ใช้ มีค่าน้ำมันให้ มีคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กส่วนตัวให้ใช้ ชั่วโมงการทำงานสามารถยืดหยุ่นได้ เป็นต้น
วัฒนธรรมองค์กร
ผู้สมัครงานต้องการทราบว่าบริษัทของคุณมีวัฒนธรรมองค์กรเป็นอย่างไร คุณควรใช้เว็บไซต์บริษัทให้เป็นประโยชน์ โดยนำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับบริษัท เพื่อให้ผู้สมัครรู้สึกอยากร่วมงานกับคุณ อาทิ
ข่าวสารของบริษัท
ให้ผู้หางานได้เห็นความเคลื่อนไหวของบริษัท เกี่ยวกับข่าวสารผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ กิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัท รวมไปถึงการประกาศแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่งพนักงาน เป็นต้น
หัวข้อที่น่าสนใจในแวดวงธุรกิจ
หากคุณมีการนำเสนอข่าวสาร เทรนด์ต่าง ๆ ในแวดวงธุรกิจด้วย จะช่วยให้บริษัทของคุณดูเป็นมืออาชีพและเป็นผู้นำในธุรกิจประเภทนั้น ๆ อาทิ
การจะประสบผลสำเร็จในการสรรหาพนักงานหัวกะทิเข้าสู่องค์กรนั้น คุณต้องให้ข้อมูลที่ผู้สมัครงานต้องการ เข้าถึงได้ง่าย และเห็นภาพลักษณ์ที่ดีน่าร่วมงานด้วย เพราะไม่ใช่แค่ผู้สมัครงานเท่านั้นที่ต้องนำเสนอ “จุดขาย” ของตัวเอง หากองค์กร ต้องการคนเก่งก็ต้องนำเสนอ “จุดขาย” ของบริษัทตนเองเช่นกัน
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ