ความหมาย (มาตรา 4) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 “ผู้ควบคุมงาน” หมายความว่า ผู้ซึ่งรับผิดชอบในการอำนวยการ หรือควบคุมดูแลการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร
หน้าที่และความรับผิดชอบของวิศวกรผู้ควบคุมงาน
- ผู้ควบคุมงานต้องทำหนังสือแสดงความยินยอมเป็นผู้ควบคุมงาน มอบให้เจ้าของอาคาร เพื่อทำหนังสือแจ้งชื่อผู้ควบคุมงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 29 และมาตรา 30
- ผู้ควบคุมงานที่ประสงค์จะถอนตัวจากการเป็นผู้ควบคุมงาน (มาตรา 30)ในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม วิศวกร ผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ควบคุมงาน จะต้องรับผิดชอบจนกว่า งานก่อสร้าง จะ แล้วเสร็จ หากวิศวกรต้องการจะถอนตัวออกจากการเป็นผู้ควบคุมงาน จะต้องทำหนังสือขอยกเลิกการเป็นวิศวกรผู้ควบคุมงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น จึงจะพ้นจากความรับผิดยกตัวอย่างเช่น การที่วิศวกร ช ได้รับเป็นวิศวกรผู้ควบคุมงานตามใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร วิศวกร ช จะหลุดพ้นความรับผิดชอบก็ต่อเมื่อได้แจ้งถอนตัวจากการเป็นผู้ควบคุมงานเป็น ลายลักษณ์อักษรต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นผู้อนุญาตเท่านั้น การที่วิศวกร ช มีหนังสือแจ้งถอนตัวจากการเป็นผู้ควบคุมงานต่อเจ้าของอาคารโดยมิได้แจ้งต่อ เจ้าพนักงานท้องถิ่น ส่งผลให้วิศวกร ช ยังคงมีความรับผิดในฐานะผู้ควบคุมงานอยู่
- ผู้ควบคุม งานวิศวกรรม จะ ต้องควบคุมการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร ให้เป็นไปตามแผนผังบริเวณ แบบแปลน และรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต และจะต้องปฏิบัติตามวิธีการและเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบ อนุญาต หรือตามที่ได้แจ้งไว้ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากมีการฝ่าฝืนกฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นการกระทำของผู้ควบคุมงาน เว้นแต่ผู้ควบคุมงานจะพิสูจน์ได้ว่าเป็นการกระทำของผู้อื่น ซึ่งผู้ควบคุมงานได้มีหนังสือแจ้งข้อทักท้วงการกระทำดังกล่าวให้เจ้าของหรือ ผู้ครอบครองอาคาร และผู้ดำเนินการทราบแล้ว แต่บุคคลดังกล่าวไม่ยอมปฏิบัติตาม (มาตรา 31)
- ในกรณีที่มีการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร ที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 กฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ ผู้ควบคุมงานเป็นบุคคลหนึ่งซึ่งจะต้องรับผิดชอบและปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้า พนักงานท้องถิ่น มิฉะนั้น อาจถูกดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ และอาจถูกแจ้งเวียนชื่อมายังสภาวิศวกรตามมาตรา 49 ทวิ เพื่อพิจารณาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม
กรณีมีการก่อสร้างอาคารโดยมิได้ขออนุญาต
การดำเนินการก่อสร้างและควบคุมงานโดยมิได้มี การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร หรือดำเนินการก่อสร้างในช่วงระยะเวลาที่ยังมิได้รับใบอนุญาตก่อสร้างจากเจ้า พนักงานท้องถิ่น ถือว่ามีเจตนา จงใจฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 หากวิศวกรผู้ควบคุมงานมีส่วนรู้เห็นในเรื่องดังกล่าว หรือมิได้โต้แย้งและแจ้งให้เจ้าของอาคารดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย ถือเป็นการกระทำที่ผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม เนื่องจากเป็นการสนับสนุนให้ผู้อื่นกระทำผิดกฎหมาย
ที่มา : สภาวิศวกร
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
จบวิศวะจำเป็นต้องมีใบประกอบวิชาชีพวิศวกรหรือไม่
อัตราค่าจ้างที่ปรึกษาในงานวิศวกรรม
เกร็ดความรู้บันไดหนีไฟ