หมดไฟในการทำงาน หมดทั้งแรง หมดทั้งใจในการทำงาน
หมดไฟในการทำงาน burnout
สภาวะหมดไฟในการทำงานใครว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่ เมื่อองค์การอนามัยโลก WHO ได้ประกาศให้กลายเป็นโรคเรียบร้อยแล้ว ทำไมโรคดังกล่าวถึงได้กลายเป็นสิ่งที่มีผลต่อชีวิตคนทำงานเป็นอย่างมาก มาดูกันครับ
โรค Burnout หมดไฟในการทำงาน ส่งผลให้ เกิดความไม่อยากทำงาน และลดประสิทธิภาพในการทำงานลง นิยามโดย Philippe Wojazer สำนักข่าว REUTERS
• Burnout (สภาวะเหน็ดเหนื่อยจากความเครียดในที่ทำงานสะสม) ได้รับการวิเคราะห์ให้กลายเป็นโรคทางการแพทย์จากองค์การอนามัยโลก WHO
• มีจำนวนผู้ที่หมดไฟในการทำงานเพิ่มขึ้นจนถึงระดับที่ต้องเฝ้าระวังเมื่อหลายปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดการเฝ้าระวังในหลายๆบริษัทเรื่องความเครียดภายในที่ทำงาน
• แพทย์มีความเครียดสูงและมีสภาวะหมดไฟทำงานมากเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับแรงงานอเมริกัน
หากคุณเคยมีอาการปวดหัวด้านหลังตลอดทั้งวันทำงาน หรือสูญเสีย สมาธิในการทำงาน หลังจากผ่านไปหลายชั่วโมงบนโต๊ะทำงาน คุณมีแนวโน้มที่จะเป็นBurnoutหมดไฟในการทำงาน ซึ่งไม่ได้มีแค่คุณที่มีอาการนี้
องค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) เพิ่งนิยาม Burnout เป็น “โรค” ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาเป็นครั้งแรก
ตามนิยามของการให้นิยามของโรคจาก WHO (ICD-11) สภาวะหมดไฟในการทำงานเป็นจาก ความเครียดสะสมในที่ทำงานเป็นระยะเวลาต่อเนื่องซึ่งไม่ได้รับการจัดการให้ถูกต้อง” ICD ได้ระบุสัญญาณเตือนที่อาจจะก่อให้เกิดอาการ Burnout ได้ดังนี้ :
1) รู้สึกพลังงานในการทำงานหมดหรือเหนื่อยแทบหมดแรง
2) มีความรู้สึกไม่อยากทำงานหรือความรู้สึกติดลบหรือเกลียดสิ่งที่เกี่ยวข้องกับงาน
3) มีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
แม้ว่า Burnout ดูเหมือนเป็นสภาวะที่เพิ่งไม่นาน นักจิตวิทยาได้มีการศึกษาความรู้สึกดังกล่าวมาตลอดสี่ทศวรรษ ตามที่นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน Herbert Freudenberger ได้มีการศึกษามาตั้งแต่ปี 1974 มีกรณีศึกษามากกว่า 100 งานซึ่งได้มีความพยายามอธิบายสภาวะที่สิ่งที่ก่อให้เกิดความกังวลและการแสดงอารมณ์ที่ผิดเพี้ยนออกไป เกิดมาจากสภาวะ Burnout จากหนึ่งในการศึกษาเรื่องดังกล่าวซึ่งเป็นผลมาจากความเครียด
เหล่าแพทย์และผู้คนที่ทำงานในสายอาชีพที่ต้องพบเจอความเครียดสูงมีโอกาส Burnout ได้เป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับคนอเมริกันที่ทำงานโดยทั่วไป แพทย์เหล่านี้ (มากกว่าครึ่งตกอยู่ในสภาวะ Burnout) ออกจากระบบสาธารณสุขเนื่องจากคนไข้จำนวนมาก และการทำงานอย่างตึงเครียดในระบบงาน
แรงงานในประเทศอังกฤษกำลังเจอสภาวะหมดไฟในการทำงานเช่นเดียวกัน งานศึกษาโดย Health and Safety Executive พบว่า แรงงานกว่า 526,000 คนทนทุกข์กับสภาวะ ฺBurnout คิดเป็นการสูญเสียวันทำงานไปกว่า 12.5 ล้านวัน นับตั้งแต่ปี 2016 ถึงปี 2017
Burnoutกลายเป็นปัญหาที่ลุกลามมากยิ่งขึ้นภายในปีที่ผ่านๆมา และได้กลายเป็นปัญหาสุขภาพ นายจ้างควรใส่ใจเพื่อลดหรือป้องกันการเกิดสภาวะดังกล่าว ซึ่งมักใช้วิธีการแก้ปัญหาโดยการลาออกเพื่อหางานใหม่ เพื่อหลีกเลี่ยงสภาวะที่เจอและปัญหาความเครียดสะสมต่างๆลองมาดูวิธีการเพิ่มไฟในการทำงาน คลิกที่นี่ หรือถ้าจะลองเปิดโอกาสให้ตัวเองในการสมัครงานใหม่ ก็ คลิกที่นี่เพื่อสมัครงาน ได้เลยครับ