ในองค์กรใด ๆ ก็ตาม จะมีทั้งคนที่พึงพอใจกับการธำรงรักษาสภาพปัจจุบันกับคนที่ไม่ได้เป็นเช่นนั้น ถึงแม้ว่าที่ผ่านมา วิธีการธำรงรักษาสภาพปัจจุบันก็สามารถทำให้งานต่าง ๆ ลุล่วงไปได้ด้วยดีได้ แต่ในระยะหลัง ก็มีบริษัทที่ไม่ยอมพึงพอใจกับการธำรงรักษาสภาพปัจจุบันเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะถ้ามัวแต่ธำรงรักษาสภาพปัจจุบันเพียงอย่างเดียว จะทำให้ถูกคู่แข่งแย่งชิงโอกาสที่จะเป็นฝ่ายนำไปก่อนได้ แล้วเราก็จะกลายเป็นผู้แพ้ในที่สุด
อย่าเพียงแต่พึงพอใจในสภาพปัจจุบัน จะต้องวางแผนการใหม่ ๆ แล้วท้าทายต่อการทำลายสภาพปัจจุบัน คนที่มีความคิดเช่นนี้เริ่มจะเป็นที่ต้องการมากขึ้นทุกที การวางแผนก็คือการเริ่มต้นอะไรใหม่ ๆ เพื่อทำให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มใหม่นั่นเองการกำหนดหัวข้อและการทำให้คอนเซ็ปต์มีความชัดเจน คือก้าวแรกของการวางแผน
ลองมาวางแผนการใหม่ ๆ เพื่อทำให้เกิดการปฏิรูปขึ้นมาบ้าง คำว่า “ปฏิรูป” ในที่นี้หมายถึง การมุ่งสู่การทำลายสภาพปัจจุบันอย่างฉับพลัน และกล้าหาญการปฏิรูปนั้นเปรียบเสมือนการกระโดดร่ม ที่เริ่มจากการ
กำหนดตำแหน่งเป้าหมายเอาไว้อย่างกล้าหาญ แล้วดำเนินการปฎิบัติให้ถึงเป้าหมายอย่างรวดเร็ว ซึ่งหากไปด้วยทางราบแล้วจะไม่สามารถไปถึงได้ ตามลำดับดังนี้
เริ่มต้นจากการนำเสนอประเด็นปัญหาต่าง ๆซึ่งประเด็นปัญหาที่ว่านี้ก็ได้แก่ เรื่องต่าง ๆ ที่เรามีจิตสำนึกต่อปัญหา ว่าหากเป็นเช่นนั้นไปเรื่อย ๆ แล้วจะต้องแย่แน่ ๆ หรือการแสดงท่าทีมุ่งมั่นที่จะฉกฉวยโอกาส
ที่กำลังจะมาถึง จากนั้นก็นำมากำหนดหัวข้อ
ต่อไปก็กำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนว่า “ทำ...เพื่อ...” แล้วหลังจากนั้น เพื่อให้วัตถุประสงค์สามารถอธิบายได้อย่างเป็นรูปธรรม ก็อาจจะมีการให้คำจำกัดความแก่เป้าหมายที่ต้องการบรรลุถึงนั้นเอาไว้ต่างหากก็ได้
เป้าหมายที่ต้องการบรรลุถึงนั้น อาจจะเป็นต้นทุน หรือระยะเวลาส่งมอบเป็นต้น แล้วนำมาทำให้เป็นค่าที่เป็นตัวเลข กำหนดเป็นระดับต่าง ๆ ทำให้สามารถที่จะให้คำจำกัดความของวัตถุประสงค์ได้อย่างมีความชัดเจนมากขึ้นเป็นต้นว่า ต้นทุนนั้นกำหนดให้เป็นตัวเลขชัดเจนไว้เลยว่าจะต้องไม่เกินเท่าไร
วัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ต้องการบรรลุนั้น เมื่อมีความชัดเจนแล้วขั้นต่อไปก็คือ กำหนดขอบเขตที่เป็นเป้าหมายของหัวข้อนั้นๆและสุดท้ายก็ทำให้คอนเซ็ปต์เพื่อกำหนดหัวข้อที่จะดำเนินการในแผนมีความชัดเจน หมายความว่า...
...ขั้นแรกของการวางแผนนั้นจะต้องกำหนดหัวข้อให้ได้ และต้องทำให้คอนเซ็ปต์นั้นมีความชัดเจนนั่นเอง
ที่มา : หนังสือ “เก่งงานได้ ทั้งง่ายทั้งสนุก” เขียนโดย Kaisumi Nishimura
แปลโดย รังสรรค์ เลิศในสัตย์