“รู้อะไรให้กระจ่างแต่อย่างเดียว ขอให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล” เป็นสำนวนโบราณที่หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินผ่านหูมาบ้าง แต่ประเด็นคือ สำนวนนี้ยังสามารถใช้ได้อยู่ในโลกยุคปัจจุบันหรือไม่?
ในวงการหางานมีคำถามที่คนส่วนใหญ่ยังสงสัย นั้นก็คือ ระหว่าง Specialist หรือ รู้ลึก กับ Generalist หรือ รู้กว้าง อะไรสำคัญกว่ากันในโลกของการทำงาน มีความรู้แบบไหนถึงจะมี โอกาสในการทำงาน มากกว่า ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ 2 คนนี้กันก่อนดีกว่า
Specialist หรือ คนที่รู้ลึกรู้จริงและมีความชำนาญเฉพาะด้าน ส่วน Generalist คือ คนที่มีทักษะความรู้กว้าง ๆ รู้หลากหลายด้าน สามารถทำงานได้หลาย ๆ อย่าง
ข้อดีของคนที่มีความรู้แบบ Specialist ก็คือ มีแนวโน้มที่จะ เรียกเงินเดือนได้สูง เพราะความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่สั่งสมมา แต่เหล่า Specialist ก็มีแนวโน้มที่จะหางานยากในช่วงเศรษฐกิจมีปัญหา เพราะหลาย ๆ บริษัทมักจะต้องทำการ Lean องค์กร ทำให้อยากได้คนที่เป็น Generalist มากกว่า เพราะมีความรู้แบบ “เปิด” คือสามารถทำงานได้หลายอย่าง เพื่อประหยัดค่าใช่จ่าย และสามารถทำให้องค์กรเคลื่อนตัวได้เร็วนั่นเอง
นอกจากนี้แล้ว ขนาดขององค์กรที่มีส่วนสำคัญในการคัดเลือกคนเข้าทำงานด้วย โดย องค์กรขนาดใหญ่ ที่มีการแบ่งแผนกและสายงานอย่างชัดเจน มักจะต้องการคนที่รู้ลึกและมีทักษะเฉพาะทาง เพื่อมารับผิดชอบเนื้องานที่เฉพาะเจาะจง รวมถึงความสามารถในการให้ค่าตอบแทนของบริษัทใหญ่ที่สามารถจ่ายให้กับเหล่า Specialist ค่าตัวแพงได้
ในขณะที่ องค์กรขนาดเล็ก หรือ บริษัท Startup มีมักจะเลือกคนที่มีความรู้แบบกว้าง ๆ รู้รอบหลาย ๆ ด้าน หรือ Generalist เข้ามาทำงานด้วยเพราะคนเหล่านี้สามารถทำงานได้หลายตำแหน่ง ปรับตัวเก่ง มีความคล่องตัวสูง มี Transferable Skills หรือ ทักษะความรู้ที่สามารถนำใช้ในงานได้หลากหลาย เช่น ทักษะการแก้ปัญหา หรือทักษะการคิดเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งทักษะเหล่านี้ไม่ได้เป็นความรู้เฉพาะทาง แต่สามารถนำไปใช้กับการทำงานได้หลากหลาย และยังเป็นลักษณะของคนที่จะสามารถนำมาฝึกฝนต่อได้ (Trainable) ซึ่งมักจะมีเงินเดือนที่ต่ำกว่าคนที่เป็น Specialist แล้ว
ในงานวิจัยของมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สำรวจผู้ที่เรียนจบ MBA จำนวน 400 คน โดยพบว่า คนที่จบโดยเชี่ยวชาญด้าน Investment Banking ได้รับการเสนองานน้อยกว่าคนที่มีแบ็กกราวด์และประสบการณ์ที่รู้อะไรแบบกว้าง ๆ หรือพูดได้ว่า Generalist หางานได้ง่ายกว่า Specialist นั้นเอง ซึ่งอาจจะมาจากสภาวะเศรษฐกิจโลก ที่กำลังอยู่ในช่วงขาลงทั่วโลก และกระแสการทำงานแบบ Startup ที่นอกจากจะมีบริษัท Startup เกิดขึ้นใหม่มากมายแล้ว บริษัทใหญ่ ๆ หลายบริษัทก็หันมาทำงานสไตล์ Startup ด้วย เพราะนอกจากปัจจัยด้านงบประมาณ การแบ่งทีมเป็นทีมเล็ก ๆ ที่มีแต่ละคนมีความรู้รอบด้านยังทำให้สามารถบริหารงานได้รวดเร็ว ตอบโจทย์ตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลงเร็วแบบในทุกวันนี้
อ่านมาถึงตรงนี้หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่าเป็น Generalist น่าจะดีกว่า แต่อย่างเพิ่งด่วนสรุป เพราะหลายคนยังมองว่า Specialist ยังครองความได้เปรียบอยู่ให้หลาย ๆ ด้าน เพราะถึงการที่รู้รอบแบบ Generalist จะทำให้หางานได้ง่าย แต่ก็สามารถถูกให้ออกได้ง่ายเหมือนกัน เพราะไม่ได้มีคุณคนเดียวที่สามารถทำงานตำแหน่งนี้ได้เท่านั้น ในขณะที่ Specialist มักจะมีความเชี่ยวชาญบางอย่างที่องค์กรมองหา และหากคุณเป็น Specialist ที่เก่งมาก ๆ บริษัทก็อาจจะรู้สึกว่าการขาดคุณไปอาจสร้างผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ได้ และในบางวงการก็ยังต้องอาศัยความเป็น Specialist อยู่มาก เช่น วงการ แพทย์ หรือวงการ กฎหมาย
ทีนี้เราควรจะเป็นแบบไหนกันล่ะ? ก่อนอื่นเราต้องรู้ว่าตัวเองชอบอะไร คือ ชอบเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ รอบตัว หรือเป็นคนที่ชอบรู้ลึกอย่างจริงจังในศาสตร์ที่เราสนใจ และพยายามสร้างความสมดุลระหว่างการเป็น Generalist กับ Specialist ขึ้น นั้นก็คือการมีความรู้แบบตัว“T”
ทักษะความรู้แบบตัว T คือการมีความรู้เชิงลึกหรือเชี่ยวชาญอะไรซักด้าน แต่ในเวลาเดียวกันก็มีความรอบรู้ด้านอื่น ๆ ด้วย โดยคุณอาจเริ่มจากการเป็น First Jobber ที่ช่วงแรกของการทำงานมีทักษะแบบ Generalist สามารถฝึกฝนได้ จนวันนึงค่อย ๆ สะสมความรู้ ประสบการณ์ และความชำนาญ จนกลายเป็น Specialist ในที่สุด เพื่อตอบโจทย์โลกธุรกิจในยุคดิจิทัลที่เทรนด์โลกพร้อมจะเปลี่ยนตลอดเวลาอย่างดีที่สุด
ไม่ว่าคุณจะเป็น Generalist ที่เพิ่มเริ่มหางาน หรือ Specialist ที่ต้องการทำงานในองค์กรใหญ่ที่แสนจะมั่นคงและเป็นระบบ สามารถหางานที่คุณต้องการได้ ผ่านแอปพลิเคชั่น jobsDB แอปหางานที่พร้อมตอบโจทย์ชีวิตการทำงานของคุณ
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%A5%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87generalist-specialist/