หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องรู้ว่าเรื่องอะไรกำลังเป็นเทรนด์ในสังคม ข่าวดังประจำวันไม่เคยพลาด คาเฟ่ไหนที่ว่าชิคต้องไปตาม ขนมร้านไหนที่ว่าเด็ดต้องสั่งมาทานให้ได้ เรียกว่าตามทุกข่าวสาร ทุกกระแสในโซเชียลมีเดียไม่เคยพลาด เพราะกลัวว่าจะ “คุยกับเค้าไม่รู้เรื่อง!” มีเรื่องอะไรเด็ด คุณต้องขอแชร์บนฟีดก่อนเพื่อน และบางครั้งที่เกิดตกขบวน ตกข่าวแบบไม่ได้ตั้งใจ เพื่อนคุยกันในวง แต่เจ้าแม่อินเทรนด์อย่างคุณไม่รู้เรื่องได้ไง ทำให้เกิดอาการหงุดหงิด ผิดหวังกับตัวเองเล็ก ๆ จนเกิดความรู้สึกแปลกแยกขึ้นมาซะอย่างงั้น ถ้าคุณเคยมีความรู้สึกแบบนี้ คุณอาจกำลังเข้าข่ายมีอาการ FOMO โดยไม่รู้ตัว !
FOMOย่อมาจากFear of missing outคือ อาการกลัวตกข่าว กลัวตกเทรนด์ ทำให้รู้สึกกังวลว่าตัวเองจะพลาดเรื่องอะไรไปตลอดเวลา โดยเฉพาะเรื่องฮิต ประเด็นร้อนในสังคม หรือแม้แต่เรื่องเล็ก ๆ ที่คุยกันในแชทหรือในกลุ่มเพื่อนสนิทก็ด้วย จนทำให้รู้สึกเป็นกังวล แปลกแยกจากกลุ่ม จนเกิดความเครียดกับตัวเอง และอาจส่งผลถึง self-esteem ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่อาจเกิดขึ้นตามมา
หลายคนอาจคิดว่าอาการกลัวตกข่าวเพิ่งจะมีเมื่อเราเข้าสู่ยุคดิจิทัลที่ข่าวสารกระจายได้ไวยิ่งกว่าจรวด แต่ความเป็นจริงแล้ว คำว่า FOMO ถูกบัญญัติขึ้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1996 โดย ดร.แดน เฮอร์แมน (Dr. Dan Herman) จากการวิจัยเพื่อสร้างกลยุทธ์ทางการตลาด เพราะไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ยุคไหน ก็อยากรู้เรื่องของคนอื่นไม่ต่างกัน พอมาถึงยุคที่คนมีพฤติกรรม Hyper connected เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตพร้อมรับข่าวสารตลอดเวลา คำนี้จึงถูกนำมาใช้อธิบายอาการของคนติดโซเชียลมีเดียได้เป็นอย่างดี
จากงานวิจัยของ Carleton University และ McGill University ที่ถูกตีพิมพ์ในปี ค.ศ.2018 ได้ทดลองเรื่องนี้กับนักศึกษากลุ่มหนึ่ง โดยให้พวกเขาเขียนไดอารี่ในแต่ละวันจากลิงก์ที่ส่งไปให้บนสมาร์ทโฟน ติดต่อกันเป็นเวลา 7 วัน พบว่าผู้เข้าร่วมการทดลอง มักจะเกิดอาการกลัวตกข่าวในช่วงสุดสัปดาห์ โดยเฉพาะกับคนที่มีภาระส่วนตัว เช่น การเรียนหรือการทำงาน มีแนวโน้มที่จะเกิดอาการกลัวตกข่าวมากกว่าคนอื่น จนทำให้เกิดความเครียดและอาการนอนไม่หลับ อาจเป็นเพราะคนที่มีภาระส่วนตัว อาจจะพลาดการพักผ่อนและขาดอิสระในการใช้ชีวิต ทำให้พอถึงช่วงเวลาสุดสัปดาห์ที่ควรเป็นเวลาพักผ่อน กลับไม่ได้ใช้ชีวิตแบบคนอื่น อาจทำให้พวกเขารู้สึก ‘พลาด’ อะไรบางอย่างไป
อีกงานวิจัยหนึ่งที่ถูกตีพิมพ์บน Brazilian Journal of Psychiatry ก็พูดถึงจำนวนครั้งของการเช็กโซเชียลมีเดียบนสมาร์ทโฟนเช่นกัน ว่ายิ่งเราเช็กมากเท่าไหร่ยิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการกลัวตกข่าวมากเท่านั้น โดยไม่ได้ขึ้นอยู่กับเพศหรืออายุ ทำให้อาจสรุปได้ว่า อาการกลัวตกข่าวอาจมีผลต่อความพึงพอใจในชีวิต จากการเสพข่าวและรับรู้เรื่องราวชีวิตคนอื่นผ่านสื่อโซเชียล
พฤติกรรมคนไทยส่วนใหญ่ใช้เวลาบนโลกออนไลน์เฉลี่ย 9 ชั่วโมง 11 นาทีต่อวัน ผลสำรวจในปี 2020 พบว่าคนไทยใช้งานอินเทอร์เน็ต ผ่านสมาร์ทโฟนสูงสุดเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการไถฟีดในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook Instagram Twitter Tiktok และดูคอนเทนต์บน Video Streaming อย่าง Netflix ทำให้คนไทยประมาณ 25.3 ล้านคน มีพฤติกรรมเสพติดอินเทอร์เน็ตเข้าข่ายอาการ FOMO โดยที่มีคน Gen Z และ Gen Millennials เสพติดอินเทอร์เน็ตมากที่สุด เนื่องจากประชากรกลุ่มนี้เกิดและเติบโตมาพร้อมกับยุคดิจิทัล ทำให้สามารถปรับตัวรับกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็วและพร้อมใช้ชีวิตประจำวันกับเทคโนโลยีตลอดเวลา
Checklist เช็กอาการ FOMO คุณกำลังติดโซเชียลอยู่หรือเปล่า?
หากคุณมีอาการด้านบนมากกว่า 4 ข้อ บอกได้เลยว่า คุณเข้าข่ายอาการ FOMO เข้าให้แล้ว
มีอาการกลัวตกข่าวแล้ว รักษาอย่างไรดี
แม้ว่าอาการกลัวตกข่าวอาจไม่ได้ร้ายแรงจนเรียกว่าเป็นอาการทางจิตที่จำเป็นต้องพบแพทย์ แต่ถ้าเป็นหนักขึ้น ก็อาจพัฒนาไปสู่อาการทางจิตอื่น ๆ ได้ เพราะอาการกลัวตกข่าวอาจทำให้คุณเกิดความไม่พอใจในชีวิตของตัวเอง เปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น เกิดความเครียดและส่งผลกระทบต่อจิตใจตัวเองอย่างหนัก ทำให้ self-esteem ลดลง จนอาจทำให้เป็นโรคซึมเศร้า หรือโรคทางจิตเวชอื่น ๆ ตามมา แต่ข่าวดีก็คือ หากคุณยังมีอาการกลัวตกข่าวไม่รุนแรง คุณสามารถปรับพฤติกรรมเพื่อลดอาการกลัวตกข่าวของคุณได้ ด้วยการบำบัดอาการติดโซเชียล ดังนี้
แม้ว่าการเล่นโซเชียลจะช่วยแก้เหงาในวันที่คุณต้องอยู่คนเดียวได้ ช่วยให้คุณรับรู้ข่าวสาร ได้พูดคุยกับคนอีกซีกโลกได้ง่าย ๆ แต่ถ้าคุณติดมือถือจนเริ่มกัดกินความสดใส รู้สึกไม่พอใจกับชีวิตซะแล้ว นั่นอาจเป็นสัญญาณบอกว่าคุณควรเข้าสู่โหมด Digital detox หรือลดเวลาที่อยู่บนโลกออนไลน์ หันมา disconnect to connect กับผู้คนในโลกจริงตรงหน้า ให้เวลากับชีวิต Real life มีความสุขกับสิ่งรอบตัวให้มากขึ้น คุณจะได้ไม่ต้องมีอาการ FOMO ตกเป็นเหยื่อโลกโซเชียล จนทำให้เสียสุขภาพจิตที่ดี จนลามไปสู่การเสียสุขภาพกายในอนาคต
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/nomophobia-%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%96%e0%b8%b7%e0%b8%ad/
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/shift-work-%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b9%87%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%b0/
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/5-%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%b5%e0%b9%81%e0%b8%81%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3-burnout/