“นักบัญชี” ถือเป็นอาชีพหนึ่ง ที่ต้องอาศัยความรู้ความสามารถเฉพาะทาง และร่ำเรียนมาโดยตรง ทำงานในสายงานบัญชี จนมีประสบการณ์มากพอสมควร ผ่านความรับผิดชอบเป็นสมุห์บัญชี หรือผู้จัดการฝ่ายบัญชีมาก่อน จึงจะได้รับการยอมรับให้เป็น “นักบัญชี”
“ผู้ทำบัญชี” เป็นวิชาชีพ ที่ปัจจุบันมีการตรากฎหมายออกมาเพื่อคุ้มครองอาชีพนี้โดยเฉพาะ คือ พระราชบัญญัติ การบัญชี พ.ศ.๒๕๔๓ “ผู้ทำบัญชี” ที่มีคุณสมบัติตามกฎหมาย แต่อาจไม่ใช่ “นักบัญชี” หากว่าผู้นั้นยังขาดประสบการณ์ในหน้าที่งานบัญชี และเช่นกัน “นักบัญชี” ผู้มีความสารมาถและประสบการณ์ ไม่อาจจะเป็น “ผู้ทำบัญชี” ได้หากว่าขาดคุณสมบัติวุฒิการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด เมื่อกล่าวถึง “ผู้ทำบัญชี” ก็ต้องกล่าวถึง “ผู้สอบบัญชี” ซึ่งเป็นวิชาชีพอิสระอีกอาชีพหนึ่ง ที่ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน ดังกฏที่ว่า งบการเงินของกิจการหนึ่ง ๆ ผู้ทำบัญชี และผู้ตรวจสอบบัญชีต้องมิใช่คนเดียวกัน หรือเรียกว่า คนทำไม่ตรวจ คนตรวจก็ไม่ทำบัญชี คล้ายกับอาชีพหมอ ที่ว่า แพทย์เป็นผู้ตรวจแล้วสั่งยา แต่ไม่หยิบยาเอง ส่วนเภสัชกรมีหน้าที่หยิบยา แต่ไม่มีหน้าที่สั่งยาให้คนไข้ หรือยกอีกตัวอย่างหนึ่ง คืออาชีพวิศวกร กับสถาปัตยกรรม ทั้งสองอาชีพทำหน้าที่คู่ขนานกัน
สำหรับนักบัญชี อย่างน้อย ๆ จะต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ 1 ใบ เพื่อขึ้นทะเบียนเป็น
อาชีพและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับนักบัญชี
ลำดับที่ 1 – 6 จะทำเป็นอาชีพอิสระด้วยตัวเองคนเดียวก็ได้
ณ ที่นี้ใด้กล่าวถึงอาชีพการรับทำบัญชี เพราะเป็นงานอิสระที่นักบัญชีส่วนใหญ่เริ่มต้นด้วยการรับทำบัญชีทั้งสิ้น
ที่มา : peoplevalue.co.th