(ต่อ) หากคุณกำลังมองหา เคล็ดลับเขียนเรซูเม่ที่เหมาะกับยุคสมัยแล้วล่ะก็ ในปี 2014 มีข้อแนะนำในการเขียนเรซูเม่ที่คุณไม่ควรพลาด ดังต่อไปนี้
มุ่งเน้นความสำเร็จที่เคยมี
เคล็ดลับที่สำคัญที่สุดที่ผมย้ำเสมอ คือ คุณต้องมุ่งเป้าไปที่การบรรยายลักษณะ งาน ที่เคยทำ พร้อมบอกด้วยว่าผลงานที่เคยประสบความสำเร็จ หรือ ผลงาน ที่คุณเคยมีส่วนร่วมในแต่ละตำแหน่งนั้นมีอะไรบ้าง นายจ้างสนใจตรงนี้มากกว่าแค่การบรรยายว่า งานของคุณต้องทำอะไรบ้างในแต่ละวัน เคล็ดลับที่สองที่ผมขอเน้นคือ พูดความจริง แน่นอนว่าคงไม่มีใครโกหกว่าตนเองเคยทำงานที่ไหนหรือทำตำแหน่งอะไรมา แต่อาจมีการ โกหก เล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างการปกปิดช่วงเวลา ว่างงาน ด้วยการใส่แค่ปีที่ทำงานหรือการเขียนเรซูเม่ให้เข้าใจผิดว่าคุณเรียนจบปริญญา ทั้งที่จริงแล้วไม่จบ การปกปิดความจริงหรือโกหกเช่นนี้จะทำให้นายจ้างเกิดความเคลือบแคลงคุณสมบัติความซื่อสัตย์ของคุณ และอาจทำให้พลาดโอกาสทำงานในที่สุด
ใช้คำที่เป็นคีย์เวิร์ดของงานที่ต้องการ
พิมพ์ตำแหน่งงานที่ต้องการสมัครออกมาแล้วไฮไลต์คำที่เป็น คีย์เวิร์ด สำหรับงานดังกล่าว ตรวจสอบว่าคำเหล่านั้นมีอยู่ในเรซูเม่ของคุณแล้วหรือยัง ปรับข้อความในเรซูเม่ โดยใช้ลักษณะงานที่บรรยายไว้ในตำแหน่งที่ต้องการ เพื่อให้เรซูเม่ของคุณเต็มไปด้วยประโยคบรรยายความสำเร็จในการทำงานที่จะโดนใจนายจ้าง ด้วยคีย์เวิร์ดที่คุณเลือกใช้ นำ เรซูเม่ ไปให้เพื่อนสนิท ครอบครัว หรือบุคคลอ้างอิงของคุณลองอ่านดู แล้วถามพวกเขาว่า “เรซูเม่ฉบับนี้สื่อถึงจุดแข็งและประสบการณ์ทำงานของฉัน/ผมได้ดีแล้วหรือยัง และน่าสนใจสำหรับคนที่จะเรียกไป สัมภาษณ์งาน ไหม เพื่อนและครอบครัวถือเป็นแหล่งข้อมูลขั้นยอดที่จะชี้ให้เห็นจุดแข็งของคุณ ที่คุณอาจไม่เคยสังเกตเห็นด้วยตนเองมาก่อน
ใช้คีย์เวิร์ดแทนหัวข้อ
โดยปกติ เรซูเม่มักจะเต็มไปด้วยคีย์เวิร์ดเพื่อให้ระบบค้นหาใบสมัครงานในคอมพิวเตอร์สามารถตรวจจับได้ แต่น่าเสียดายที่ คีย์เวิร์ดเหล่านั้น ช่างไม่น่าดึงดูดสายตามนุษย์เอาเสียเลย อีกทั้งยังไม่ช่วยสร้างความโดดเด่นให้กับคุณออกมาจากเหล่าผู้สมัครงานคนอื่น ๆ ที่มีทักษะแบบเดียวกันด้วย ดังนั้น เปลี่ยนมาใช้คีย์เวิร์ดเป็น “หัวข้อ” แทนจะดีกว่า อาจลิสต์เป็นหัวข้อแล้วอธิบายตัวอย่างจากประสบการณ์ของคุณ เช่น การจัดการโครงการ: ริเริ่มและประยุกต์ใช้ระบบการจัดการสินค้ากับห้างค้าปลีก
ส่งเรซูเม่ออนไลน์
เรซูเม่ออนไลน์ คือสิ่งจำเป็น! เมื่อคุณได้เรซูเม่ที่สมบูรณ์แบบแล้ว ควรเข้าไป อัพเดทเรซูเม่ ออนไลน์ให้ตรงกันด้วย รวมไปถึงข้อมูลการทำงานในFacebookและTwiiterหรือควรสร้างเว็บบล็อกด้านอาชีพส่วนตัวเอาไว้เพื่อโพสต์เรซูเม่ เมื่อ นายจ้าง ค้นหาข้อมูลของคุณผ่านอินเทอร์เน็ต (และเชื่อเถอะว่าพวกเขาทำ!) ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยคุณได้มาก และง่ายสำหรับทางบริษัทที่จะหาข้อมูลที่ตรงกับที่ได้อ่านมาในเรซูเม่
ไม่ยาวเป็นหางว่าว
เรซูเม่ไม่ควรเป็นเอกสารร่ายยาวว่าคุณเคยทำอะไรมาแล้วบ้าง “ทั้งหมด” นี่คือเอกสารการตลาด ที่ต้องพุ่งเป้าไปยังความต้องการของทางบริษัทโดยตรง ด้วยการกล่าวถึงทักษะเฉพาะตัวของคุณ และผลงานความสำเร็จที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ก่อนจะ เขียนเรซูเม่ คุณจึงจำเป็นต้องศึกษาลักษณะงาน และเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทที่คุณสนใจให้ได้มากที่สุด เพื่อที่คุณจะสามารถเขียนเรซูเม่ได้อย่างชัดเจนว่า เพราะเหตุใดคุณจึงเป็นตัวเลือกที่สมบูรณ์แบบที่สุดสำหรับตำแหน่งนั้น และจะช่วยแก้ไขปัญหาของบริษัทได้อย่างไร
ความยาวเรซูเม่
กฎง่าย ๆ ข้อแรกก็คือ หากคุณมีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 7 ปีขึ้นไป เรซูเม่ของคุณควรยาวประมาณ 2 หน้ากระดาษ แต่หากมีประสบการณ์น้อยกว่านั้น เรซูเม่ของคุณก็ไม่ควรเกินหนึ่งหน้า แต่ไม่ว่าคุณจะมีประสบการณ์มากมายแค่ไหน เรซูเม่ของคุณก็ไม่ควรยาวเกิน 2 หน้ากระดาษ สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์สูงหรือทำงานด้านที่ปรึกษาด้านการจัดการ อย่างตัวผมเอง ควรเขียนเป็นประวัติส่วนตัวเพิ่มเติม จะช่วยให้สามารถบรรยายประสบการณ์ทั้งหมดของตนเองได้
เรซูเม่สำหรับผู้ต้องการเปลี่ยนสายงาน
ผู้ต้องการเปลี่ยนสายงานหลายคนได้ขอคำแนะนำกับที่ปรึกษาการทำงานว่าควรเขียนเรซูเม่ในรูปแบบไหนเพื่อให้สอดคล้องกับการทำงานในสายงานใหม่ แต่สิ่งแรกที่ควรทำคือ การแสดงให้นายจ้างเห็นว่าคุณจริงจังกับการเปลี่ยนสายงาน เช่น เข้าร่วมองค์กรสำหรับกลุ่มอาชีพในสายงานใหม่ ทำงานอาสาสมัครที่เกี่ยวข้อง เข้าอบรมคอร์สสร้างเสริมทักษะในสายงาน ไม่ว่าจะเป็นผลงานหรือความสำเร็จเพียงน้อยนิดขนาดไหนในสายงานใหม่ที่คุณทำ ย่อมดีกว่าการเขียนเรซูเม่ที่มีรูปแบบสวยงาม แต่ไม่มีหลักฐานเลยว่าคุณรู้เรื่องเกี่ยวกับสายงานใหม่ที่ต้องการทำมากน้อยแค่ไหน
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ