หากคุณกำลังมองหา เคล็ดลับเขียนเรซูเม่ที่เหมาะกับยุคสมัยแล้วล่ะก็ ในปี 2014 มีข้อแนะนำในการเขียนเรซูเม่ที่คุณไม่ควรพลาด ดังต่อไปนี้
10 วินาทีทอง
โดยเฉลี่ยแล้ว เจ้าหน้าที่จะใช้เวลาในการพิจารณา เรซูเม่ ประมาณฉบับละ 10 วินาที ดังนั้น คุณจึงจำเป็นต้อง...
เพิ่มลิงก์
บางครั้ง ผู้จัดการ หรือเจ้าหน้าที่ ฝ่ายบุคคล อาจไม่รู้จักคุ้นเคยกับ บริษัท เก่าที่คุณเคยทำ งาน อยู่ ขอแนะนำให้คุณใส่ลิงก์อ้างอิงไปยังบริษัทที่คุณระบุไว้ในหัวข้อ “ ประสบการณ์ทำงาน ” ในเรซูเม่ด้วย ซึ่งหากมีการใส่ลิงก์ให้กับที่ใดที่หนึ่งแล้วก็ควรใส่ทั้งหมด เพื่อความสม่ำเสมอ การใส่ลิงก์จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้มีอำนาจตัดสินใจคัดเลือกพนักงานในการตรวจสอบที่ทำงานเก่าของคุณได้ง่ายขึ้น และเนื่องจากมีผู้จัดการหลายคนที่ใช้โซเชียลมีเดียในการมองหาพนักงานหน้าใหม่มากขึ้น การใส่ลิงก์ไปยังหน้า LinkedIn ของคุณในหัวข้อ “ข้อมูลติดต่อ” ก็ถือเป็นความคิดที่ไม่เลวเช่นกัน
ทำการบ้านก่อนเขียนเรซูเม่
เพื่อสร้างความโดดเด่นให้เรซูเม่ของคุณแตกต่างจากคู่แข่งคนอื่น คุณควรลิสต์รายชื่อบริษัทที่เหมาะสมกับตัวเองเอาไว้สัก 10-15 แห่ง (หรือมากกว่านั้น) ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทเหล่านั้น เพื่อค้นหาว่า คุณสมบัติข้อไหนของคุณที่จะช่วยให้บริษัทเหล่านั้นแก้ไขปัญหาที่เผชิญอยู่ ถือเป็นการสืบข่าวเพื่อสร้างช่องทางการตลาดของคุณ และเพื่อหาคีย์เวิร์ดหรือประโยคที่ควรใช้ในการเขียนเรซูเม่ นำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการ สร้างแบรนด์ ให้กับตนเอง และนำเสนอตัวเองผ่าน เอกสารสมัครงาน ต่าง ๆ (ทั้งในเรซูเม่ ประวัติส่วนตัว และอื่น ๆ) ซึ่งจะช่วยให้โดนใจบริษัทที่คุณหมายปองไว้ได้ง่ายขึ้น
ชัดเจนกับคุณสมบัติของตัวเอง
เวลา สมัครงาน ในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ควรเตรียมจดหมายแนะนำตัวที่พูดถึงคุณสมบัติ 3-4 ข้อที่ระบุไว้ในคำบรรยายลักษณะงานนั้น ๆ พร้อมอธิบายรายละเอียดแบบเฉพาะเจาะจงว่าคุณมีคุณสมบัติเหมาะสมกับลักษณะงานดังกล่าวอย่างไร
ระบุเป้าหมายการทำงาน
ผู้สมัครงานทุกคนควรระบุ เป้าหมายการทำงาน ของตัวเองไว้ในเรซูเม่ แต่ก็มีข้อยกเว้นในบางกรณี หากคุณมีประสบการณ์ทำงานต่ำกว่า 5 ปี หรือหากคุณกำลังจะเปลี่ยนสายงาน คุณก็จำเป็นต้องระบุเป้าหมายในการทำงานของตนเองไว้ โดยการเขียนเป้าหมายในการทำงานต้องอธิบายถึงงานในอุตสาหกรรมที่คุณตั้งเป้า เป้าหมายการทำงานต้องเป็นการสรุปประสบการณ์ทำงานของคุณ พร้อมข้อมูลเจาะลึกเกี่ยวกับทักษะและคุณสมบัติที่คุณมี โดยทั่วไปแล้ว เป้าหมายในการทำงานควรเป็นการบรรยายความยาวประมาณ 3-5 ประโยค และจัดรูปแบบไว้เป็นย่อหน้าแบบเต็มหน้ากระดาษ
ปรับเรซูเม่ให้เข้ากับงาน
ทุกครั้ง ก่อนส่งเรซูเม่สมัครงาน หาข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งและบริษัทที่กำลังจะสมัครเสียก่อน (หากเป็นไปได้หาข้อมูลจากการพูดคุยกับพนักงานปัจจุบันหรือคนที่เคยทำงานกับบริษัทดังกล่าวด้วยยิ่งดี) คุณจะได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายและ วัฒนธรรมองค์กร ของที่นั่นให้ดียิ่งขึ้น ให้รู้ว่าตำแหน่งดังกล่าวมีส่วนส่งเสริมการทำงานขององค์กรอย่างไร ทักษะและคุณสมบัติแบบไหนที่เหมาะสมกับตำแหน่งที่ต้องการ เมื่อหาข้อมูลได้แล้ว นำมาปรับใช้ในเรซูเม่ของคุณเพื่อสะท้อนสิ่งทางบริษัทเห็นว่าสำคัญสำหรับตำแหน่งนี้มาเป็นอันดับแรกในเรซูเม่ และใช้ภาษาที่ใกล้เคียงกับที่ทางบริษัทใช้ ซึ่งหมายความว่าไม่ควรเขียนทุกอย่างที่คุณเคยทำหรือทำได้ลงไปในเรซูเม่ทั้งหมด ลองมองเรซูเม่ของตัวเองด้วยสายตาของทางบริษัทดู บริษัทต้องการรู้อะไรที่จะทำให้เขาตัดสินใจติดต่อเพื่อนัดสัมภาษณ์คุณบ้าง เลือกทักษะ คุณสมบัติ ความสำเร็จ และประสบการณ์ที่สอดคล้องกับสิ่งที่บริษัทระบุและต้องการ
เขียนเรซูเม่ของคุณให้ดูเป็นเอกสารที่มุ่งเดินหน้าสู่อนาคต แสดงให้เห็นว่าผลงานความสำเร็จของคุณสอดคล้องกับผลลัพธ์ที่องค์กรที่เคยทำงานอยู่อย่างไร อย่าเขียนเรซูเม่ให้เป็นเอกสารที่พูดถึงแต่เรื่องในอดีตหรือแสดงให้เห็นเพียงว่าคุณเคยทำอะไรมาบ้าง แต่ต้องแสดงให้เห็นในเรซูเม่ด้วยว่า คุณกำลังมุ่งเป้าหมายไปทางไหนในอนาคต และคุณจะเพิ่มมูลค่าให้กับการทำงานอย่างไร
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ