จากสถานการณ์โควิด 19 ที่ยืดเยื้อมาเป็นปี แต่สถานการณ์ยังดูน่าเป็นห่วงอย่างมาก ทำให้รัฐต้องเคาะการปิดล็อกดาวน์ 14 วันใน 10 จังหวัดพื้นที่สีแดง อย่าง กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา และอาจจะมีเพิ่มเติมอีกหากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น ทั้งนี้เพื่อความเข้มงวดทาง ศบค. ยังเผยอีกว่าอาจมีการพิจารณาปิดกิจการบางประเภทในพื้นที่ล็อกดาวน์อีกครั้ง ทำให้ส่งผลกระทบต่อหลายอาชีพไม่มากก็น้อย ทางคณะรัฐมนตรีจึงมีการอนุมัติเยียวยาประชาชนและผู้ประกอบการ 9 อาชีพ ใน 10 จังหวัดนี้เป็นเวลา 1 เดือน
เงินเยียวยาสำหรับประชาชนและผู้ประกอบการจะต้องเป็นผู้ที่อยู่ในกิจการที่ถูกสั่งปิด หรือได้รับผลกระทบ 9 หมวดกิจการ ดังต่อไปนี้
- ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร
- ก่อสร้าง
- ขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า
- ขายส่งขายปลีกและซ่อมยานยนต์
- ข้อมูลข่าวสารและสื่อสาร
- ศิลปะ บันเทิงและนันทนาการ
- กิจกรรมการบริการด้านอื่น ๆ
- กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน เช่น จัดอีเว้นต์ นำเที่ยว รปภ. บริการทำความสะอาด
- กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์ และกิจกรรมทางวิชาการ เช่น บริษัทโฆษณา ออกแบบตกแต่งภายใน ตรวจสอบบัญชี ที่ปรึกษาภาษี
สำนักงานประกันสังคม (สปส.) มีมาตรการเยียวยานายจ้าง ลูกจ้าง ทั้งที่อยู่ในระบบและไม่อยู่ในระบบประกันสังคม โดยแบ่งตามกลุ่มผู้ประกันตนมาตรา 33, 39 และ 40
เงินเยียวยาสำหรับกลุ่มผู้ประกันตนตาม มาตรา33(ม.33)
ผู้ประกันตน มาตรา 33 ในกิจการ 9 หมวด โดยแบ่งมาตรการเงินเยียวยาให้
- นายจ้างรัฐจะจ่ายเงินเยียวยาให้ตามจำนวนลูกจ้าง3,000 บาทต่อราย สูงสุดไม่เกิน 200 คน
สามารถตรวจสอบสถานะโครงการเยียวยานายจ้างได้ ที่นี่
- ลูกจ้างจะได้รับการช่วยเหลือ 2,500 บาท ต่อคน และลูกจ้างที่ได้รับชดเชยจะได้รับเงินเดือน 50% ของค่าจ้าง ไม่เกิน 7,500 บาท รวมกับเงินเยียวยาไม่เกินคนละ 10,000 บาท
สามารถตรวจสอบสถานะโครงการเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา33ได้ ที่นี่
ทั้งนี้ทั้งนายจ้างและลูกจ้างสามารถเช็กสิทธิอัปเดตล่าสุดได้ด้วยตนเองเพียงกรอกเลขบัตรประชาชนได้ ที่นี่
หากขึ้นเป็นสีเขียวแสดงว่าได้รับสิทธิเงินเยียวยารอบล่าสุด แต่หากไม่ยังขึ้นให้ลองเช็กดูว่าตัวเราอยู่ในเกณฑ์รับเงินเยียวยากลุ่มอื่นหรือไม่
- ผู้ประกอบการที่มีลูกจ้างแต่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคมให้ขึ้นทะเบียนตามเข้าระบบประกันสังคม ม.33 ภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับเงินเยียวยา
- ผู้ประกอบการในระบบ“ถุงเงิน”5 หมวด ภายใต้โครงการ “คนละครึ่ง” และโครงการ “เราชนะ” ที่ “มีลูกจ้าง”ให้ขึ้นทะเบียนตาม ม.33 ภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับเงินเยียวยา ตามข้อ 1 และ 2 โดยได้ 3,000 บาทต่อลูกจ้าง 1 ราย แต่ไม่เกิน 200 ราย
เงินเยียวยากลุ่มผู้ประกันตนตาม มาตรา 39 และ มาตรา 40 (ม.39, ม.40)
รัฐบาลจะช่วยเหลือค่าใช้จ่ายให้ 5,000 บาทต่อคน ภายใน 23-25 ก.ค.นี้ โดยแบ่งมาตรการเยียวยาให้
- กลุ่มกิจการอาชีพอิสระหรือผู้ประกอบอาชีพอิสระหรือกลุ่มฟรีแลนซ์สามารถสมัครขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้ ที่ลิงก์นี้ ภายในเดือน ก.ค. นี้เท่านั้น
- ผู้ประกอบการที่มีลูกจ้างแต่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคมให้ขึ้นทะเบียนตามเข้าระบบประกันสังคม ม.33 ภายในเดือน ก.ค. เพื่อรับเงินเยียวยา
- ผู้ประกอบการที่ไม่มีลูกจ้าง และไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคมให้ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 40 ภายในเดือน ก.ค. เพื่อรับเงินเยียวยา 5,000 บาท
- ผู้ประกอบการในระบบ“ถุงเงิน” 5 หมวด ภายใต้โครงการ “คนละครึ่ง” และโครงการ “เราชนะ” ที่ “ไม่มีลูกจ้าง”ให้ขึ้นทะเบียนตาม ม. 40 ภายในเดือน ก.ค. เพื่อรับเงินเยียวยา 5,000 บาท
สำหรับกลุ่มกิจการอาชีพอิสระหรือผู้ประกอบอาชีพอิสระหรือกลุ่มฟรีแลนซ์ สามารถสมัครขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้แต่ต้องมีเงื่อนไขคือ ต้องอายุตั้งแต่ 15 ปีแต่ไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ และต้องไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39
3 ทางเลือกในการจ่ายเงินสมทบสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40
- ทางเลือกที่ 1 จ่าย 70 บาท
- ทางเลือกที่ 2 จ่าย 100 บาท
- ทางเลือกที่ 3 จ่าย 300 บาท
โดยสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองจะขึ้นอยู่กับการเลือกจ่ายเงินสมบทรายเดือน ดังต่อไปนี้
หลังจากตัดสินใจเลือกการจ่ายเงินสมทบเสร็จแล้ว วิธีการสมัครและลงทะเบียนก็ง่ายมาก ทุกคนสามารถลงผ่าน 7 ช่องทาง ได้แก่
- เว็บไซต์ประกันสังคม โดยลงทะเบียนผ่านมือถือได้เลยที่ www.sso.go.th
- เคาน์เตอร์เซอร์วิส
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)
- เคาน์เตอร์ Big C ซุปเปอร์เซ็นเตอร์
- เครือข่ายประกันสังคมทั่วประเทศไทย
- สายด่วนประกันสังคม 1506
- สมัครด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่
เอกสารที่ใช้มีเพียงบัตรประชาชนใบเดียวเท่านั้น ทุกคนก็สามารถลงทะเบียนได้แล้ว นอกจากนี้ทุกช่องทางก็ไม่เสียค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด ทั้งนี้ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 จะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีการชำระเงินสมทบเรียบร้อยแล้วเท่านั้น โดยสามารถสำระผ่านช่องทางที่กำหนดได้เลย
ทั้งนี้ทางประกันสังคมยังออกมาเน้นย้ำว่า นายจ้างบุคคลธรรมดาและผู้ประกันตนที่มีสิทธิช่วยเหลือเยียวยาจากรัฐบาลให้เร่งดำเนินการผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขบัตรประจำตัวประชาชนเท่านั้น เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการโอนเงินเข้าบัญชี ดังนั้นการผูกบัญชีพร้อมเพย์เข้ากับเลขประจำตัวประชาชนไว้ก่อนจะช่วยให้ขั้นตอนการรับเงินดำเนินไปได้ด้วยดีมากยิ่งขึ้น
หากมีข้อสงสัยเรื่องเงินเยียวยาสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/ จังหวัด/ สาขา ทั่วประเทศ หรือที่สายด่วน 1506 ให้บริการไม่เว้นวันหยุดราชการตลอด 24 ชั่วโมง
สำหรับใครที่กำลังมองหางานที่ใช่ และตอบโจทย์ชีวิตที่ลงตัว JobsDB มีตำแหน่งงานมากมายทุกสายงาน ทุกระดับ ให้คุณเลือกสมัคร ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันวันนี้ เพื่อให้คุณเจองานดี ๆ ก่อนใคร
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android
เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า