เคยเป็นกังวลใช่ไหมว่ามนุษย์เงินเดือนอย่างเราเจ็บป่วยขึ้นมาหากไม่มีเงินสำรองจะทำอย่างไร โดยเฉพาะหากป่วยฉุกเฉินจำเป็นต้องเข้าโรงพยาบาลกระทันหันนี่แย่แน่ ๆ วันนี้เรามีอีกเรื่องที่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานด้านการพยาบาลมาบอกกัน สิทธิ์ที่ว่าก็คือ “UCEP ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ใช้สิทธิรักษาฟรี 72 ชั่วโมงแรก” ซึ่งสิทธิ์ที่ว่า สามารถใช้ได้ทุกที่ทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน
แล้วแบบไหนที่เรียกว่าป่วยฉุกเฉินวิกฤต
หากเกิดอาการที่ว่ามาดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่ง แบบนี้ รีบไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดเพื่อทำการรักษาทันทีโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในช่วง 72 ชั่วโมงแรก
แล้วหลังจาก 72 ชั่วโมง แต่ยังรักษาไม่หาย ใครจะเป็นคนจ่าย?
หลังจากทำการรักษาครบ 72 ชั่วโมงแต่พบว่าผู้ป่วยยังต้องทำการรักษาต่อ จากนี้ก็จะเป็นกระบวนการขั้นตอนส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาต่อในโรงพยาบาลคู่สัญญากับกองทุนที่ผู้ป่วยคนนั้นมีสิทธ์ในการรักษา โดยเริ่มจากสามกองทุนก่อน นั่นก็คือ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, สำนักงานประกันสังคม, กรมบัญชีกลาง หรือพูดง่าย ๆ ก็คือจะมีการเช็คสิทธิ์ว่าผู้ป่วยมีสิทธิ์รักษาพยาบาลอยู่ที่โรงพยาบาลอะไร ก็จะถูกส่งตัวไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลนั้น ๆ ค่ะ
แล้วถ้าป่วยฉุกเฉิน แต่พอไปถึงโรงพยาบาล โรงพยาบาลกลับบอกว่าไม่เข้าข่ายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตล่ะ?
เรื่องนี้เลิกกังวลไปเลยค่ะ เพราะหากมีข้อโต้แย้ง ในกรณีการตัดสินการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต แพทย์ประจำศูนย์ประสานงานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) จะร่วมกับวิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทยจะประเมินภาวะฉุกเฉินของผู้ป่วยภายใน 15 นาที ซึ่งคำวินิจฉัยของศูนย์ประสานงานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตของสพฉ. ให้ถือเป็นที่สุด ฉะนั้นโรงพยาบาลจะอ้างไม่ได้ ว่าผู้ป่วยไม่เข้าข่ายผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตนะคะ หรือหากเกิดปัญหา เราสามารถติดต่อศูนย์ประสานงานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเชินวิกฤตของ สพฉ.ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ที่หมายเลข 028721669 ค่ะ
รู้แบบนี้แล้วมนุษย์เงินเดือนอย่างเราก็สบายใจไปหนึ่งเปราะ ไม่ต้องกังวลว่าเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นมาจะมีคนรักษาเราหรือไม่ เราจะมีเงินจ่ายหรือเปล่า เพราะรัฐบาลจัดโครงการนี้ขึ้นมาก็เพื่อคุ้มครองการรักษาสิทธิการได้รับการพยาบาลในกรณีฉุกเฉินให้กับประชาชนทุกคน แต่อย่างไรก็แล้วแต่ ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ อย่าแบกความเครียดจากการทำงานจนทำให้ตัวเองต้องเจ็บป่วยนะคะ
เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ผู้ประกอบการไทย พร้อมหรือยังกับแผนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคบังคับ