หลังการ สัมภาษณ์งานผู้สมัครงาน มาจำนวนหลายครั้ง ในที่สุดคุณก็ได้ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกมา ซึ่งต้องมีการตรวจสอบประวัติผ่านการเช็คโทรศัพท์กับผู้อ้างอิงหรือส่งอีเมลล์สอบถามข้อมูลกับนายจ้างก่อนหน้าเพื่อตรวจสอบประวัติการทำงาน ในขั้นตอนต่อไปคุณยังสามารถตรวจสอบประวัติผู้สมัครงานผ่านโซเชียลมีเดียได้อีกด้วย
ไม่ต้องแปลกใจ หาก HR ในปัจจุบันเลือกใช้แพลตฟอร์มทางโลกออนไลน์ต่างๆในการตรวจสอบ ประวัติของผู้สมัครงาน ก่อนตัดสินใจรับคนเข้าทำงาน เรามีข้อดีและข้อด้อยในการใช้โซเชียลมีเดียเพื่อการตรวจสอบประวัติของผู้ทำงานมาฝากกันครับ
ข้อมูลจริงไม่ได้มโน
การตรวจสอบประวัติทางสื่อโซเชียลมีเดียทั้งหลายสามารถยืนยันข้อมูลซึ่งคุณสามารถหาได้ใน เรซูเม่ของผู้สมัครงาน ยกตัวอย่างเช่น บางแพลตฟอร์มสามารถให้ผู้สมัครงานได้ระบุข้อมูลประวัติต่างๆทั้งเรื่องการศึกษาและการเรียน HR สามารถเช็คข้อมูลดูได้หากในเรซูเม่นั้นกรอกไม่ตรงกับในแพลตฟอร์มออนไลน์
ผู้สมัครงานเองก็สามารถระบุเรื่องสำคัญในการทำงานลงไปในเรซูเม่หรือเป็นกิจกรรมที่ได้อาสาช่วยเหลือสังคมต่างๆลงไปในเรซูเม่ได้เช่นเดียวกัน ข้อมูลเหล่านี้ควรจะเปิดให้สามารถเข้าถึงได้โดยสาธารณะ การค้นหาผ่าน Google สามารถแสดงข้อมูลถึงสิ่งที่คุณเขียนนั้นเป็นจริง
สามารถเข้ากันได้กับองค์กร
โดยทั่วไป คนมักจะชอบแชร์และคุยบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอยู่แล้ว ดังนั้นเหล่า HR สามารถเห็นอีกด้านของผู้สมัครงานได้ไม่ยากเกินไป ซึ่งสามารถประเมินทักษะการติดต่อสื่อสารหรือดูแล้วจะเข้ากับองค์กรของตัวเองในการทำงานได้หรือไม่คร่าวๆผ่านความชอบและสิ่งที่ไม่ชอบ
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายๆสิ่งที่สามารถเห็นได้ผ่านการแสดงความคิดเห็นที่ฉลาด หรือสร้างสรรค์ซึ่งน่าจะเป็นผลดีในองค์กร รวมถึงโลกออนไลน์ยังช่วยให้เห็นข้อมูลต่างๆว่าผู้สมัครงานได้มีส่วนร่วมกับสังคมต่างๆมากน้อยแค่ไหน
ผิิดกฎหมาย
แม้ว่าความตั้งใจตรวจสอบประวัติผู้สมัครงานผ่านการค้นหาบน Google นั้นไม่ได้ดูผิดกฎหมายและก็เป็นสิ่งที่ HR ส่วนมากก็ทำกัน แต่พึงระลึกไว้ว่าสิ่งที่คุณเลือกกระทำนั้นอาจฝ่าฝืนกฎหมายในแง่ของสิทธิส่วนบุคคลเสียเอง
ความเสี่ยงในการกระทำที่ผิดกฎหมายอาจมาจากการที่คุณนำข้อมูลของผู้สมัครงานที่คุณค้นเจอบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ยกตัวอย่างเช่น นายจ้างอาจเกิดความลำเอียงในการตัดสินใจเลือกผู้สมัครงานเข้าร่วมงานเนื่องด้วยความหลากหลายต่างๆซึ่งทำให้บางคนไม่ได้งานเนื่องจากอายุ เพศ เชื้อชาติ ศาสนา โรคประจำตัว หรือแม้แต่บุคลิกหน้าตา
สิทธิส่วนบุคคล
เหล่าบรรดาเว็บไซต์โซเชียลมีเดียต่างๆเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานได้เลือกปรับความเป็นส่วนตัวจากการปรับการเข้าดูประวัติของแต่ละคนได้ ผู้สมัครงานที่เก๋าเกมจะระมัดระวังในการเลือกโพสแต่ละอย่างบนโลกออนไลน์ ซึ่งดูเป็นสัญญาณมือโปรแต่ทว่าไม่ได้ช่วยให้ HR ในการสามารถสืบค้นบุคลิกและความชอบที่แท้จริงของผู้สมัครงานคนนั้นๆได้
ด้วยความสามารถเลือกปรับการเข้าดูประวัติส่วนตัวได้ ผู้สมัครงานจึงสามารถปกปิดประวัติของตนเองบนโลกโซเชียลมีเดียได้อย่างง่ายดายและเป็นประโยชน์แก่ตนเอง HR จึงสามารถดูได้เพียงบางส่วน เช่น รูปหน้าประวัติ แต่ให้พึงระวังไว้ว่าการเข้าไปดู(หรือส่อง)ประวัติของผู้สมัครงานบางแพลตฟอร์ม อาจมีการร้องขอความเป็นเพื่อน ซึ่งจะเข้าข่ายการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้
ลองพิจารณาแนวทางการตรวจสอบประวัติผู้สมัครงานผ่านโซเชียลมีเดียตาม infographic ด้านล่าง ซึ่งมีแนวทางที่ดีที่ HR สามารถนำไปใช้เพื่อให้แน่ใจว่าได้ดำเนินการอยู่บนหลักการของกฎหมายและยังคงไว้ซึ่งจริยธรรมที่ดี
ควรทำ
ทำความเข้าใจกฎเกณฑ์การใช้แพลตฟอร์มดังกล่าวให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาด้านกฎหมาย
เช็คประวัติเฉพาะในส่วนที่เปิดเผยแก่สาธารณะ
เป็นกลาง โดยไม่ลำเอียงจากข้อมูลที่พบเห็น
ไม่ควรทำ
แกล้งเนียนเป็นเพื่อนไปขอดูประวัติ
ขอชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน
ไม่เป็นกลางจากการเลือกเช็คประวัติในแง่ลบอย่างเดียว
สุดท้ายแล้วการตรวจสอบประวัติผู้สมัครงานผ่านโลกโซเชียลมีเดียก่อนจะตัดสินใจเลือกจ้าง HR ควรระมัดระวังในด้านกฎหมายต่างๆที่อาจละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้ผ่านการตรวจสอบประวัติบนโลกออนไลน์นั่นเอง