ความขัดแย้งทางการเมืองที่ลากยาวตั้งแต่เดือน พ.ย. 2556 ถึงปัจจุบัน เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ภาคเอกชนชะลอการลงทุนแล้วรอดูสถานการณ์แทน ขณะที่การใช้จ่ายจากภาครัฐเข้าสู่ระบบก็ยังติดขัดไม่มีรัฐบาลตัวจริง ลามไปถึงการบริโภคของภาคครัวเรือนที่ต้องระมัดระวังการใช้จ่ายเงินด้วยเช่นกัน
ภายใต้บริบทเหล่านี้ ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพาเหรดปรับลดตัวเลขการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม ในประเทศ (จีดีพี) กันเป็นแถว อาทิ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปรับเป้าจีดีพีจาก 4-5% เหลือ 3-4%
ธนาคารแห่งประเทศไทยจาก 3% เหลือ 2.7% สำนักงานเศรษฐกิจการคลังจาก 4% เหลือ 2.1-3.1% ส่วนศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าเศรษฐกิจจะโต 1.3-2.4% จากเดิมคาดว่าจะโต 3% ขณะที่กูรูเศรษฐกิจอย่าง วีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี ประเมินว่าขยายตัว 0% หรืออาจติดลบด้วยซ้ำ
แนวโน้มชะลอตัวของเศรษฐกิจ ย่อมส่งผลมาถึงตลาดแรงงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากว่ากันตามทฤษฎีแล้วจีดีพีควรโตมากกว่า 3% ถึงจะดูดซับแรงงานเข้าสู่ระบบได้หมด แต่หากโตต่ำกว่า 3% ก็อาจทำให้ตัวเลขการว่างงานเพิ่มสูงขึ้น
นพวรรณ จุลกนิษฐกรรมการผู้จัดการ บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) ประเมินแนวโน้มตลาดแรงงานในช่วงที่เหลือของปีนี้ไว้ว่า หากสถานการณ์การเมืองยังยืดเยื้อต่อไป คาดว่าภายในสิ้นปีนี้ อัตราการ ว่างงาน อาจ จะเพิ่มขึ้นถึง 1-1.1% (ตัวเลขอัตราการว่างงานจากกระทรวงแรงงานปี 2556 อยู่ที่ 0.73%) ซึ่งแม้ตัวเลขดังกล่าวยังไม่น่าวิตก แต่ผู้ที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงคือนักศึกษาจบใหม่ในปีนี้กว่า 4 แสนคน ที่อาจตกงานถึง 1-1.5 แสนคน เนื่องจากภาคธุรกิจยังคงชะลอตัวในการขยายกิจการ จึงเป็นผลลูกโซ่ต่อการจ้างงานนั่นเอง
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาบริบทปัจจุบัน พบว่าในภาพรวมไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมใดก็เกิดการชะลอตัวด้วยกันทั้งสิ้น โดยเฉพาะสายงานด้านการท่องเที่ยวและโรงแรม ที่ชะลอ การจ้างงาน ลง เนื่องจากสถานการณ์การเมืองที่ยืดเยื้อ ทำให้ในช่วง 2 เดือนแรกของปี ไทยสูญเสียรายได้ไปแล้วกว่า 1 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ดี แม้ผู้ประกอบการจะได้รับผลกระทบ แต่ก็ยังไม่มีการ เลิกจ้าง แต่ อย่างใด เพียงแต่ชะลอการรับพนักงานลง บางแห่งอาจมีการโยกย้ายพนักงานไปทำงานยังสาขาต่างจังหวัด หรือปรับเปลี่ยนตำแหน่งให้เหมาะสม เพื่อพยุงธุรกิจให้ผ่านพ้นในช่วงวิกฤตินี้ และประเมินแนวโน้มสถานการณ์อีกครั้งในช่วงหลังเดือนเม.ย. ว่าจะมีทิศทางอย่างไร
ขณะที่อุตสาหกรรมที่กำลังเกิดใหม่และมาแรงเป็น ที่น่าจับตามองคือทีวีดิจิตอล ที่หลายช่องหลายค่ายต่างประมูลช่องเพื่อสร้างหรือขยายรายการ จนทำให้เกิดการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม แม้แนวโน้มการได้งานของนักศึกษาจบใหม่จะไม่ค่อยดีนัก แต่ตลาดงานบางอาชีพยังคงเป็นที่ต้องการอย่างมาก และเกิดการแย่งชิงตัวผู้สมัครกันอย่างรุนแรง ได้แก่ อาชีพที่ต้องใช้ความรู้เฉพาะทางทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสาย งานไอที งานวิศวกรรม งานวิทยาศาสตร์ งานโรงแรม และสายอาชีวะ เนื่องจากเป็นสายงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถเฉพาะตัว ยิ่งใครมีความชำนาญที่มากกว่า ก็ยิ่งไม่มีความเสี่ยงในการ ตกงาน อย่างแน่นอน
จากฐานข้อมูลของ JobsDB พบว่าอาชีพที่มีความต้องการจ้างงานอย่างต่อเนื่อง 5 อันดับแรก ประกอบด้วย
นพวรรณ อธิบายว่า ตำแหน่ง Sales, CS และ Business Devpt เป็นตำแหน่งที่ตลาดต้องการมากที่สุด เนื่องจากตำแหน่งนี้เป็นฟันเฟืองสำคัญจะช่วยให้ธุรกิจขององค์กรต่าง ๆ ขับเคลื่อนและเติบโตตามเป้าหมาย ทั้งยังเป็นตำแหน่งที่มีการหมุนเวียนบุคลากรค่อนข้างสูง จึงไม่น่าแปลกใจว่าเหตุใดจึงเป็นที่ต้องการของตลาดมากที่สุดมาโดยตลอด
ขณะที่งาน Engineering และ IT ถือเป็นตำแหน่งงานที่เป็นพื้นฐานสำคัญของทุกอุตสาหกรรมที่ขาดไม่ได้ เพราะโลกเทคโนโลยีมีความก้าวล้ำอยู่เสมอ ต้องอาศัยผู้ที่มีทักษะความชำนาญเฉพาะด้านมาเป็นผู้ควบคุมดูแล ยิ่งเมื่อใกล้เปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ตำแหน่งงานนี้ก็ยิ่งเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก เพราะแต่ละองค์กรก็ย่อมต้องการคนที่เก่งและชำนาญการที่สุดไปร่วมงานนั่นเอง
ส่วนงานด้าน Admin / HR, Marketing และ PR เป็นตำแหน่งที่ทุกองค์กรต้องมี เนื่องจากช่วยสนับสนุนการเติบโตขององค์กร เรียกได้ว่าเป็นทัพที่ต้องคอยบริหารจัดการองค์กรทั้งเรื่องภาพลักษณ์ และความน่าเชื่อถือให้เป็นที่ประจักษ์แก่ภายนอก จึงทำให้ตำแหน่งงานดังกล่าวเป็นที่ต้องการของตลาดอยู่เสมอ
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาอาชีพที่มีผู้สมัครงานสูงสุด 5 อันดับแรก พบว่ายังมีความไม่สัมพันธ์กับความต้องการของผู้ว่าจ้าง โดยอาชีพที่มีผู้สมัครงานสูงสุดคือ
นพวรรณ กล่าวว่า เมื่อพิจารณาตำแหน่งงานที่มีผู้สมัครมากที่สุดกับตำแหน่งที่มีผู้ต้องการ จ้างมากที่สุด มีเพียง 2 ตำแหน่ง คือ Information Technology (IT) และ Admin และ HR ที่ตรงกัน ส่วนอีก 3 สายงาน ยังมีความต้องการไม่สอดคล้องกัน สะท้อนว่าผู้สมัครงาน โดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษาที่กำลังเลือกคณะวิชาที่จะเรียน หรือที่กำลังจะจบ ควรต้องศึกษาตลาดงานให้ดี จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยลดอัตราการว่างงาน หรือภาวะตำแหน่ง งาน ล้นตลาดลงได้
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ผลสำรวจพบนายจ้างชอบคนบุคลิกภาพดี ไม่เน้นฝีมือ
อัตราแรกจ้างพนักงานจบใหม่ตามวุฒิการศึกษา จากผลการสำรวจค่าจ้างปี 2556 (ตอนที่2)