ความพยายามที่จะทำให้ข้อความที่เขียนมาในรูปแบบตัวหนังสือนั้น สามารถจดจำได้ง่าย ๆ ซึ่งหากในแง่ของการประยุกต์ธุรกิจก็คือ ทำอย่างไรให้การสื่อสารระหว่างกิจการ และลูกค้าเป้าหมายของเรามีประสิทธิผลมากที่สุด จดจำแบรนด์ของเราได้มากที่สุด
และเข้าใจ ประทับใจในข้อมูลที่เราต้องการให้ลูกค้าทราบแบบไม่มีวันลืมเลือนกันเลย มาเริ่มจากเทคนิคแรก
1. การสอดแทรกรูปภาพ
การสอดแทรกรูปภาพเข้าไปในข้อความที่ต้องการจะสื่อสารนั้น ๆ ทำให้สมองมีแนวโน้มที่จะจดจำภาพมากกว่าตัวหนังสือ รวมถึงภาพที่เขาชอบ จะทำให้เกิดความประทับใจมากยิ่งขึ้นด้วย เช่น ในยุคที่เทคโนโลยีด้านแอนิเมชั่นอยู่ในความสนใจของเด็กรุ่นใหม่ หากกิจการของเราต้องการจับกลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้ การสื่อสาร ข้อมูลผ่านทางรูปภาพเชิงแอนนิเมชั่นและการ์ตูนไฮเทคย่อมจะปลุกเร้าความสนใจ และทำให้กลุ่มเป้าหมายของเราสามารถจดจำ ตราสินค้า ของกิจการได้อย่างง่ายดาย
2. เทคนิคการใช้ “สี” ที่ชัดเจน สะดุดตา
ในการสื่อสารให้เกิดความสนใจต่อผู้รับข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะสีที่จะสร้างความตระหนักได้ดี สีสื่ออารมณ์ สดใส เช่น แดง เหลือง เขียว น้ำเงิน ฯลฯ และหากเรานำสีที่ผู้คนมักจะมีความเข้าใจในความหมายพื้นฐานอยู่แล้วเข้ามาใช้ด้วย ก็จะทำให้ไม่มีปัญหาในการจดจำเลย ยกตัวอย่างเช่น สีแดง มักจะถูกมาใช้กับเซนส์ที่บอกว่า “เป็นสิ่งที่ต้องระวัง” หรือเป็นเอกลักษณ์ที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ จึงเกิดเป็น การนำเอาสีแดงเข้ามาในการห้ามจราจรนั่นเอง หรือการเรียกร้องความสนใจในเชิงกระตุ้นเตือนต่าง ๆ ต่อผู้รับข้อมูล
3. การสร้างความจดจำ
การสอดแทรก หรือเสริมข้อมูลทางด้านประสาทสัมผัสด้านต่าง ๆ ไปกับข่าวสารของกิจการด้วย ทั้งในเรื่องของรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เรียกว่านำมาใช้ในเชิงการตลาดประสาทสัมผัสทั้งห้า (Sensory Marketing) นั่นเอง โดยกิจการที่เทคนิคนี้มาใช้อย่างประสบความสำเร็จ เป็นต้นแบบก็คือ สตาร์บัคส์ ที่นำ Sensory Marketing มาสร้างความตระหนัก และ ความภักดีในตราสินค้า ของตนได้อย่างสัมฤทธิผลที่เดียว โดยไม่เพียงแต่สื่อสารเป็นข้อความเท่านั้น แต่เมื่อเข้ามาในร้านสตาร์บัคส์ จะได้รับการสื่อสารตั้งแต่
ดังนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจออกกลยุทธ์เพื่อการแข่งขันใด ลองนำเอาผลการศึกษาเกี่ยวกับสมองและการรับรู้เข้าไปประยุกต์ธุรกิจด้วย เพื่อการันตีความสำเร็จที่สูงขึ้นของทุกท่านค่ะ
ที่มา : http://www.bangkokbizweek.com
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ