เทคนิคการปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนร่วมงานชาวอาเซียน

เทคนิคการปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนร่วมงานชาวอาเซียน
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

เพื่อนร่วมงานชาวอาเซียน ปัญหากับเพื่อนร่วมงาน บางครั้งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราสามารถลดความขัดแย้งนั้นได้ หากเราเข้าใจว่าเพื่อนร่วมงานของเรานั้นเป็นคนเช่นไร อุปนิสัยเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงกันได้ยาก แต่หากยอมเปิดใจให้กว้าง เตรียมความพร้อมที่จะปรับเปลี่ยน เพื่อลดความขัดแย้ง การทำงานกับเพื่อนชาวอาเซียนจะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป

ในแต่ละชาติจะมีเกร็ดความรู้ที่แตกต่างกัน หากเราลองศึกษาธรรมเนียมปฏิบัติเหล่านั้น ก็จะทำให้เราเข้าใจเพื่อนบ้าน อาเซียน ได้ง่ายขึ้น เช่น ชาวบรูไนนิยมรับหรือส่งของด้วยมือขวา ซึ่งใกล้เคียงกับชาวมาเลเซียที่รับสิ่งของ หรือรับประทานอาหารด้วยมือขวา หากเราเข้าใจสิ่งเหล่านี้ เราก็จะเข้าใจเพื่อนร่วมงานที่เป็นชาวต่างชาติได้ง่ายขึ้น อย่าเห็นว่าสิ่งที่เขาทำเป็นสิ่งที่แปลก แต่ให้พยายามเข้าใจและปรับตัวให้เข้ากับธรรมเนียมเหล่านั้น

แม้ว่า เพื่อนร่วมงาน ชาวอาเซียนจะเป็นคนที่มาจากต่างชาติ ต่างภาษา และต่างวัฒนธรรม หากเรารู้จักวิธีปรับตัวให้ทั้งเขาและเราเข้ากันได้ การทำงานย่อมเป็นไปอย่างราบรื่น เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างเพื่อนร่วมงาน ลองเปิดใจให้กว้าง และทำตามคำแนะนำเหล่านี้ การปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนร่วมงานชาวอาเซียนจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

เข้าใจวัฒนธรรม

หัวใจสำคัญของการทำงานร่วมกัน คือ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา อย่าเพิ่งด่วนตัดสินสิ่งที่เกิดขึ้น บางครั้งเราอาจจะต้องพยายามเข้าใจในสิ่งที่เขาปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง งาน หรือเรื่องการใช้ชีวิต ด้วยความแตกต่างทางวัฒนธรรมทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันไปบ้าง แต่หากเราลองศึกษา หรือสอบถามเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติของเขา อาจจะทำให้เราเข้าใจเขามากขึ้นก็ ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ก็จะไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป

ภาษาเป็นสื่อกลาง

ต้องยอมรับว่า ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาสำคัญที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร แต่ถ้าหากเรามีความสามารถในภาษาที่ 3 ด้วย เช่น ภาษาอินโด ภาษาพม่า ภาษาเวียดนาม เป็นต้น ก็จะเป็นประโยชน์ และสามารถเชื่อมความสัมพันธ์ได้ง่ายขึ้น ชาวต่างชาติมักจะรู้สึกประทับใจกับคนที่สามารถพูดภาษาของตนเองได้ เขาก็จะเปิดใจยอมรับเรามากขึ้น

เปิดใจให้กว้าง

เมื่อเพื่อนทำความผิด เราต้องไม่ละเลยที่จะบอกกล่าวตักเตือน อย่าปล่อยให้เลยผ่านไปด้วยคำว่า “ช่างมันเถอะ” เพราะเมื่อใดก็ตามที่เราเอ่ยคำนี้ออกมา เราย่อมจะปล่อยให้เขาทำงานผิดพลาดอีก เป็นครั้งที่ 2 เมื่อเพื่อนร่วมงานชาวต่างชาติทำงานผิดพลาด เราก็ไม่ควรละเลยเช่นเดียวกัน แม้ว่าจะมีภาษาเป็นอุปสรรคในการบอกกล่าวบ้าง คนทำงานชาวไทยมักจะรู้สึกเกรงใจ จนไม่กล้าตักเตือน แต่ในทางกลับกัน หากเขาจะต้องตักเตือนเราบ้าง เราก็ต้องรับฟังอย่างใจเย็น อย่ารู้สึกโกรธ หรืออารมณ์เสีย เพราะนั่นเท่ากับว่าเรายังเปิดใจไม่กว้างพอที่จะรับฟังความผิดพลาด

เรียนรู้และเข้าใจ

แน่นอนว่าความแตกต่างทางวัฒนธรรม ทำให้เกิดความแตกต่างในการทำงานด้วย เมื่อเราได้มีโอกาสต้อนรับ พนักงานใหม่ ที่เป็นชาวต่างชาติ แทนที่จะให้เขาเข้าใจวัฒนธรรม และวิธีปฏิบัติของเราเพียงฝ่ายเดียว ลองซักถามถึงวิธีทำงานของเขาดูบ้าง เพื่อที่เราจะได้เข้าใจแนวคิด และวิถีทางในการทำงานของเขามากขึ้น และอาจจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่เราจะได้ลองปรับวิธีการทำงานของเราให้เข้ากับเขาได้ง่ายขึ้น

ความแตกต่างไม่ได้ถูกออกแบบให้เป็นอุปสรรคเสมอไป เพราะบางครั้งก็อาจจะเป็นจุดเริ่มต้น ที่ทำให้เราอยากเรียนรู้คนอื่นมากขึ้น หรือให้คนอื่นเรียนรู้เรามากขึ้น เราต้องมองข้ามความแตกต่างทางวัฒนธรรม เพื่อให้การทำงานของเรามีความสุข และก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่กำลังแข็งแกร่งขึ้นได้อย่างมั่นคง

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

การเตรียมความพร้อมของคนหางานก่อนก้าวเข้าสู่ AEC

เทคนิคการทำงานกับเพื่อนร่วมงานชาวญี่ปุ่น

More from this category: สมัครงาน

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สำรวจหัวข้อที่เกี่ยวข้อง

เลือกสิ่งที่สนใจเพื่อเรียกดูอาชีพที่เกี่ยวข้อง

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
ท่านได้ยอมรับคำประกาศเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล และนโยบายความเป็นส่วนตัวเพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หากท่านมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ท่านได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง เพื่อยินยอมให้ Jobsdb และบริษัทในเครือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ท่านสามารถยกเลิกได้ทุกเวลา