เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับภาษีของคนทำงาน

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับภาษีของคนทำงาน
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

คนทำงานหลายคนหรือคนที่เพิ่งทำงานใหม่ ไม่ว่าจะเป็น นักศึกษาจบใหม่ หรือคนทำงานที่ขาดประสบการณ์ จะมีเรื่องให้ต้องกังวลใจหลายต่อหลายเรื่อง และหนึ่งในนั้น คือ การเสียภาษี หลายคนจะเกิดข้อสงสัยหลายอย่าง อาทิ มีรายได้เท่าไรจึงต้องเสียภาษี มีรายได้เท่านี้ต้องเสียภาษีเท่าไร

ต้องยอมรับว่าคนทำ งาน หน้าใหม่จะไม่มีความรู้เรื่องเหล่านี้เลย ถึงแม้ว่าจะมีใครอธิบายให้ฟังแล้ว ก็อาจจะไม่ได้เข้าใจโดยละเอียดเสียทีเดียว jobsDB จึงได้สรุปข้อควรรู้เกี่ยวกับภาษี และการเสียภาษีของคนทำงานมาให้ได้รู้กัน เพื่อให้เข้าใจง่ายและไม่ซับซ้อน สำหรับคนที่เพิ่งเคยได้ยินเรื่องนี้เป็นครั้งแรก

ใครบ้างต้องเสียภาษี

บุคคลที่ต้อง เสียภาษี ตามความหมายทางภาษี มี 4 ประเภท คือ

  1. บุคคลธรรมดา
  2. ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
  3. ผู้ที่ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
  4. กองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง

สำหรับคนทำงานที่มีรายได้เฉพาะเงินเดือน ต้องใช้แบบยื่นเสียภาษี ภงด. 91 โดยบุคคลทุกคน ยกเว้นผู้เยาว์ หรือคนไร้ความสามารถ หรือ เสมือนไร้ความสามารถ ต้องยื่นแบบเงินได้พึงประเมิน ถ้าบุคคลนั้นมีเงินได้เฉพาะเงินเดือน เกิน 50,000 บาทต่อปีขึ้นไป และถึงแม้ว่าจะมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี แต่ก็ต้องยื่นเสียภาษีไว้ก่อน

ภาษีคนทำงาน

อัตราภาษีเงินได้ที่ต้องยื่นเสียภาษี

  • รายได้สุทธิตั้งแต่ 0-150,000 บาท/ปี ได้รับการยกเว้นภาษี
  • รายได้สุทธิตั้งแต่ 150,000-300,000 บาท/ปี จะเสียภาษี 5 % ของรายได้สุทธิ
  • รายได้สุทธิตั้งแต่ 300,001-500,000 บาท/ปี จะเสียภาษี 10 % ของรายได้สุทธิ
  • รายได้สุทธิตั้งแต่ 500,001-750,000 บาท/ปี จะเสียภาษี 15 % ของรายได้สุทธิ
  • รายได้สุทธิตั้งแต่ 750,001-1,000,000 บาท/ปี จะเสียภาษี 20 % ของรายได้สุทธิ
  • รายได้สุทธิตั้งแต่ 1,000,001-2,000,000 บาท/ปี จะเสียภาษี 25 % ของรายได้สุทธิ
  • รายได้สุทธิตั้งแต่ 2,000,001-4,000,000 บาท/ปี จะเสียภาษี 30 % ของรายได้สุทธิ
  • รายได้สุทธิตั้งแต่ 4,000,001 บาท/ปี ขึ้นไป จะเสียภาษี 35 % ของรายได้สุทธิ

สิทธิลดหย่อนภาษีมีอะไรบ้าง

ยิ่งมีรายได้มาก ก็ยิ่งต้องเสียภาษีมาก คนทำงานหลายคนจึงหาหนทางต่าง ๆ นานาที่จะช่วยให้ตัวเองเสียภาษีน้อยลง ซึ่งวิธีการ วางแผนภาษี ที่หลาย ๆ คนมักจะใช้กัน มีดังนี้

  • เงินค่าชดเชยที่ได้รับตามกฎหมายแรงงาน
  • อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
  • เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา
  • เบี้ยประกันชีวิต
  • ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
  • ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF/RMF)
  • ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย
  • เงินสมทบกองทุนประกันสังคม
  • เงินบริจาค

นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เราสามารถนำมาลดหย่อนภาษาได้ ซึ่งสามารถหาอ่านได้จากบทความ “ ค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่จะช่วยคุณประหยัดภาษี ” แล้วจะเห็นว่ายังมีอีกหลายอย่างที่ช่วยให้เราจ่ายภาษีน้อยลง โดยที่ไม่ต้องเลี่ยงภาษี

ระยะเวลายื่นเสียภาษี

  • ภ.ง.ด. 90                มกราคม - มีนาคม ของปีภาษีถัดไป
  • ภ.ง.ด. 91                มกราคม - มีนาคม ของปีภาษีถัดไป
  • ภ.ง.ด. 93                ก่อนถึงกำหนดเวลาการยื่นแบบตามปกติ
  • ภ.ง.ด. 94                กรกฎาคม - กันยายน ของปีภาษีนั้น

การยื่นภาษีนั้นสามารถทำได้ด้วยการกรอกแบบฟอร์ม แล้วส่งกลับไปยังกรมสรรพากร หรือวิธีการที่สะดวกที่สุดคือการยื่นผ่านอินเทอร์เน็ตทาง www.rd.go.th ระยะเวลาในการยื่นอาจจะเลื่อนออกไปได้เล็กน้อย ขึ้นอยู่กับประกาศของกรมสรรพากร

การที่เราจะเริ่มเข้าทำงานเรามักจะรู้สึกว่าการเสียภาษีเป็นเรื่องไกลตัว แต่ความเป็นจริงแล้ว ภาษีเป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเรามาก เพียงแต่เราไม่รู้ขั้นตอนโดยละเอียดเท่านั้นเอง เมื่อเรารู้ขั้นตอนต่าง ๆ โดยละเอียดแล้ว เราก็ควรทำให้การเสียภาษีเป็นเรื่องที่ถูกต้อง จะได้ไม่ถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยื่นภาษีได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th/publish/26218.0.html

เรืื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ยื่นภาษีผ่านสมาร์ทโฟน โหลดเลย

ค่าปรับสำหรับผู้ที่ยื่นภาษีล่าช้า

More from this category: การเป็นผู้นำ

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
ท่านได้ยอมรับคำประกาศเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล และนโยบายความเป็นส่วนตัวเพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หากท่านมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ท่านได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง เพื่อยินยอมให้ Jobsdb และบริษัทในเครือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ท่านสามารถยกเลิกได้ทุกเวลา