เลิกจ้างอย่างไรไม่ให้ถูกฟ้อง

เลิกจ้างอย่างไรไม่ให้ถูกฟ้อง
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

ข่าวโรง งาน ปิดกิจการแล้วมีภาพ พนักงาน ออกมาประท้วงเรียกร้องค่าชดเชยยังคงมีมาให้เห็นอยู่เนือง ๆ ถึงเกิดเป็นคำถามขึ้นมาให้รู้สึกอยากค้นหาคำตอบว่า หากโรงงานหรือ บริษัท จำเป็นต้องปิดกิจการ หรือ เลิกจ้าง พนักงานเพราะไม่อาจต้านทานพิษเศรษฐกิจไหว จะต้องทำอย่างไรจึงจะ win-win ยุติธรรมต่อทั้งสองฝ่าย และไม่เกิดปัญหาการฟ้องร้อง หรือการชุมนุมประท้วงให้เป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โตอย่างที่เป็นข่าว

เมื่อคุณจำเป็นต้องปิดกิจการ คุณจะต้องทำหนังสือแจ้งให้พนักงานทราบล่วงหน้าอย่างน้อยหนึ่งงวดค่าจ้าง เช่น กำหนดปิดกิจการวันที่ 30 ธันวาคม ก็ต้องประกาศภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน แต่หากคุณไม่ได้แจ้งให้พนักงานทราบล่วงหน้าในระยะเวลาดังกล่าว คุณต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าอีก 1 เดือนด้วย

นอกจากนี้ คุณยังจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานตามอายุงานของแต่ละคน ตามมาตรา 118 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน 2541ในอัตราดังต่อไปนี้

  • พนักงานทำงานมาเป็นเวลา 4 เดือน แต่ไม่ครบ 1 ปี ต้องจ่ายค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน หรือ 1 เดือน
  • พนักงานทำงานมาเป็นเวลา 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ต้องจ่ายค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน หรือ 3 เดือน
  • พนักงานทำงานมาเป็นเวลา 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ต้องจ่ายค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน หรือ 6 เดือน
  • พนักงานทำงานมาเป็นเวลา 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ต้องจ่ายค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน หรือ 8 เดือน
  • พนักงานทำงานมาเป็นเวลา 10 ปีขึ้นไป ต้องจ่ายค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน หรือ 10 เดือน

การเลิกจ้างงาน อย่างไรก็ดี เข้าใจว่าคงไม่มีใครอยากจะต้องปิดกิจการหรือถูกเลิกจ้าง หากยังพอมีเวลาอยากให้คุณลองคิดหาวิธีการจัดการทางอื่น ๆ ก่อนการเลิกจ้างหรือปิดกิจการ วิธีการหนึ่งที่อาจจะช่วยได้คือ การแจ้งให้พนักงานรับทราบสถานการณ์ของบริษัทเสียแต่เนิ่น ๆ และถือโอกาสขอความร่วมมือ ร่วมใจจากพนักงาน เพื่อช่วยกันรักษาหม้อข้าวใบเดียวกันนี้ให้อยู่รอดและมีข้าว มีน้ำกินด้วยกันตลอดไป

แต่หากคุณไม่สามารถแบกรับสภาพการขาดทุนได้ไหวอีกต่อไป การบอกกล่าวล่วงหน้า และจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายอย่างครบถ้วน จะเป็นทางออกที่ดีและไม่มีปัญหาในภายหลัง รวมทั้งไม่ต้องถูกฟ้องร้อง หรือเป็นข่าวให้เสียชื่อเสียงอีกด้วย

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

พนักงานลาป่วยบ่อย จัดการอย่างไร

ทำอย่างไรเมื่อลูกน้องมีปัญหา?

More from this category: เทรนด์งานยอดฮิตและเงินเดือน

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
ท่านได้ยอมรับคำประกาศเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล และนโยบายความเป็นส่วนตัวเพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หากท่านมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ท่านได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง เพื่อยินยอมให้ Jobsdb และบริษัทในเครือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ท่านสามารถยกเลิกได้ทุกเวลา