หากใครทำงานมาได้ระยะหนึ่งแล้วก็ต้องมีความต้องการที่จะเติบโตขึ้นใน สายงานบริหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำแหน่ง ผู้จัดการ (Manager) เพราะนั่นเปรียบเสมือนจุด Check Point ในการเลื่อนขั้นไปสู่ระดับที่สูงขึ้นไป อีกทั้งยังเป็นตำแหน่งที่สะท้อนความสำเร็จในอาชีพที่ได้มาจากความมุ่งมั่นในการทำงานอีกด้วย หากแต่การเลื่อนขั้นไปสู่ระดับผู้จัดการ (Manager) ไม่เพียงแต่จะต้องมีประสบการณ์การทำงานที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางเท่านั้น แต่จะต้องมีทักษะอย่างอื่นประกอบด้วย
ต้องมีความสามารถในด้านใดบ้างจึงจะเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้จัดการ (Manager) ได้?
การเป็นผู้จัดการย่อมหมายถึงการมีภาระหน้าที่ที่มากขึ้น อีกทั้งยังต้องรับมือกับลูกน้องในฝ่าย รวมไปถึงชี้แจงปัญหาและการดำเนินงานให้เจ้านายทราบอีกด้วย ดังนั้นในการบริหารจัดการคนให้ทำงานที่ถนัดย่อมเป็นการเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับทีม เหมือนกับสำนวนที่ว่า “Put the right man in the right job.” หากจัดวางคนไม่เหมาะสมกับหน้าที่อาจทำให้การทำงานเกิดปัญหาขึ้นได้ นอกจากนี้การเป็นผู้จัดการจะต้องสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกน้องมองเห็นว่าหัวหน้าไม่ได้ทำเพียงแค่สั่งอย่างเดียวเท่านั้น และสร้างโอกาสในการเติบโตให้กับลูกน้องในทีมด้วย
สำหรับคนที่จะก้าวขึ้นมาสู่ตำแหน่งผู้จัดการได้นั้นจะต้องมีประสบการณ์ในระดับหนึ่ง และสามารถดึงปัญหาที่เคยเกิดขึ้นมาวิเคราะห์หาแนวโน้ม เพื่อหาทางป้องกันไม่ให้ปัญหารูปแบบเดิมเกิดขึ้นอีก นอกจากนี้ยังต้องเตรียมความพร้อมในการรับมือกับปัญหาใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นอีก รวมถึงสร้างสรรค์วิธีการทำงานที่จะช่วยปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของทีมให้เพิ่มมากขึ้น
หน้าที่ของผู้จัดการคือการประสานการทำงานของคนในทีมกับความต้องการของผู้บริหารให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งต้องเข้าใจก่อนว่าในการเป็นผู้ปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดย่อมทำให้มองเห็นขีดจำกัดของการทำงาน แต่ขณะเดียวกับการเป็นผู้บริหารย่อมมองสถานการณ์ภาพรวมได้ชัดเจนมากกว่า ดังนั้นผู้จัดการจึงต้องใช้ความสามารถในการเจรจาต่อรองเพื่อลดแรงปะทะของทั้ง 2 ฝ่าย และหาจุดร่วมในการทำงานที่ตรงกัน เพื่อให้ทำงานออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การนำเสนอในที่นี้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเด็น คือ การนำเสนองาน และการนำเสนอตนเอง โดยความสามารถในการนำเสนองานนั้นไม่ใช่ความสามารถในการทำสไลด์พรีเซ็นต์ แต่ยังหมายรวมไปถึงการนำเสนอโปรเจ็กต์ในที่ประชุมอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการรีเสิร์ช การเรียบเรียงข้อมูล การออกแบบพรีเซ็นต์ นำเสียงที่ใช้ในการอธิบาย การตอบคำถามด้วยน้ำเสียงที่มั่นใจ ย่อมทำให้โปรเจ็กต์ที่นำเสนอมีความน่าสนใจ และหากผลออกมาดีก็อาจได้โบนัสหรือเตรียมโปรโมทสู่ระดับที่สูงขึ้นไปได้อีกด้วย
ขณะที่การนำเสนอตนเองไม่ได้ขึ้นอยู่กับการนำเสนอโปรเจ็คต์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่สะท้อนออกมาจากช่วงเวลาทำงาน ทั้งการวางตัวกับลูกน้อง การทำงานกับผู้บริหาร การจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นกับลูกค้า ซึ่งบุคลิกภาพขณะเผชิญหน้ากับสถานการณ์ต่างๆ จะเป็นสิ่งที่ทำให้คุณเป็นผู้จัดการที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น ผลดีที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่เพียงแค่การโปรโมทตำแหน่ง หรือผลตอบแทนเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงคอนเน็คชั่นต่างๆ ที่ทำให้การทำงานง่ายขึ้นอีกด้วย
การจัดลำดับความสำคัญถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในวันที่คุณมีภาระหน้าที่เพิ่มมากขึ้น จากเดิมแค่ต้องจัดการงานตรงหน้าให้เสร็จ ซึ่งก็ใช้เวลาพอสมควรแล้ว แต่ในการเป็นผู้จัดการ ย่อมต้องดูงานในหลายฝ่าย ประสานงานกับทั้งภายในและภายนอก การจัดลำดับความสำคัญและการบริหารเวลาจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในการทำงานที่ต้องดูแลงานจำนวนมาก
การเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้จัดการไม่ใช่ใครก็สามารถเป็นได้ ฉะนั้นหากใครตั้งเป้าหมายในชีวิตการทำงานว่าอย่างน้อยที่สุดจะต้องทำงานในระดับผู้จัดการ ก็ต้องแสดงความสามารถ และความเชื่อมั่นในผู้บริหาร รวมไปถึงลูกน้องให้ชัดเจนขึ้นสักหน่อย อีกทั้งยังต้องแสดงออกถึงความมุ่งมั่นตั้งใจจริงในการทำงานอย่างมาก มั่นเติมเชื้อไฟในการทำงานเข้าไว้ แล้วผลลัพธ์จะสะท้อนกลับมาอย่างคุ้มค่าเลยทีเดียว
มองหางานตำแหน่งผู้จัดการในบริษัทชั้นนำได้ที่ jobsDB
#คว้าโอกาสที่ใช่ให้ชีวิตได้เรียนรู้
#jobsDB
หางานได้ง่ายกว่าเดิมผ่าน application บนมือถือจากjobsDBทั้ง iOS และ Android โหลดเลย