ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice)คือชุมชนที่รวมเอากลุ่มคนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน มาร่วมแลกเปลี่ยน แบ่งกัน เรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ ร่วมกันเพื่อสร้างขุมปัญญาในเรื่องนั้น ๆเพื่อให้คนในชุมชนนำไปทดลองใช้แล้วนำผลที่ได้กลับมายกระดับองค์ความรู้ ภายใน กลุ่มให้พัฒนาสูงขึ้นยิ่ง ๆ ขึ้นไป
ลักษณะของชุมชมนักปฏิบัติประกอบด้วย
1. Passion –เป็นชุมชนที่มีคนที่สนใจ หรือความปรารถนาที่จะเรียนรู้ในเรื่องเดียวกันมารวมตัวกัน โดยสมาชิกต้องมีพฤติกรรมการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพื่อที่จะนำมาแลกเปลี่ยนกัน ทำให้เกิดความรู้ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางปัญญาของสมาชิกในกลุ่ม
2. Community -มีปฏิสัมพันธ์และการสร้างความสัมพันธ์ภายในกลุ่ม มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันโดยเฉพาะในด้านความรู้ รวมถึงการให้เกียรติ เคารพกัน และเปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมกับกลุ่ม
3. Practiceมีการร่วมมือและกระตือรือร้นที่จะแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อนำความรู้ไปปฏิบัติ และพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของคนในชุมชน อีกทั้งยังรวมถึงการอุทิศตัวหรือเสียสละให้กับกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชนด้วยความเต็มใจ
ภายในชุมชนนักปฏิบัติ จะมีการร่วมแก้ปัญหาการทำงานในที่ประสบในแต่ละวัน แลกเปลี่ยนแนวคิด ประสบการณ์ต่าง ๆ ระหว่างกัน เน้นการแสวงหาแนวทาง ที่เป็นเลิศจากกลุ่มอื่น แล้วนำมาสร้างแนวทางปฏิบัติของกลุ่มตัวเอง เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ และยกระดับความรู้ความคิดให้กับสมาชิกในชุมชน นอกจากนี้ยังเน้นการ ผสมผสานแนวคิดของสมาชิกที่มีมุมมองต่างกัน เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับชุมชน โดยปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของชุมชน
ในแง่ของงานบุคคล การสร้างชุมชนนักปฏิบัติก็คือ การสร้างการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องให้เกิดขึ้นภายในองค์กร ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งกันและกันภายในองค์กร หรือภายในแผนกต่าง ๆ โดยการเรียนรู้จากองค์กรอื่น ๆ ที่มีประสบการณ์ ความสำเร็จในเรื่องที่กลุ่มให้ความสนใจ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทาง ที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับลักษณะขององค์กรต่อไป โดยผู้บริหารและ HR สามารถสนับสนุนให้เกิดชุมชนนักปฏิบัติได้ดังนี้
ชุมชนนักปฏิบัตินอกจากจะเป็นการเสริมสร้างวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขององค์กรแล้ว ยังเป็นแหล่งรวบรวมและเผยแพร่วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ เกิดโอกาสพัฒนา องค์กรอย่างก้าวกระโดด เกิดเครือข่ายของกลุ่มวิชาชีพต่าง ๆ ในองค์กรและภายนอก ทั้งยังเป็นการรักษาคนเก่งให้อยู่กับองค์กรได้นานขึ้น เพิ่มโอกาสในการสร้าง นวัตกรรมใหม่ ๆ ในองค์กร รวมถึงการขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ ดังนั้นการสร้างชุมชนนักปฏิบัติจึงเป็นแนวทางที่นำไปสู่ความสำเร็จ จากความร่วมมือ และการลงมือ ปฏิบัติอย่างแท้จริง