การสร้างแรงจูงใจ ให้ พนักงาน เป็นการช่วยเสริมความสามารถพิเศษและวิสัยทัศน์ อีกทั้งเพื่อช่วยให้พนักงาน ทำงาน ได้ดียิ่งขึ้น ผู้นำที่ดี จะให้คำแนะนำที่ถูกต้องอย่างหมาะสม คำแนะนำนั้นเป็นเรื่องที่จำเป็นและขาดไม่ได้ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเล็กหรือ บริษัทใหญ่ ก็ตาม
เช่นเดียวกับสมองที่ต้องการเลือด ต้องการออกซิเจน และสมองก็ต้องการที่จะรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการทำงานและยังช่วยในการควบคุมอารมณ์อีกด้วย อย่างไรก็ตามบริษัทคาดหวังจาก หัวหน้างาน หรือ ผู้จัดการในการใช้ทักษะความสามารถเพื่อให้คำแนะนำแก่พนักงาน
การให้คำแนะนำที่เฉพาะเจาะจงจะมีประสิทธิภาพมาก โดยเฉพาะการพูดคุยกันแบบส่วนตัวก็จะยิ่งดีกว่าการพูดคุยให้คำแนะนำที่เป็นแบบกลุ่ม
ตัวอย่างเช่น ถ้าหากว่าพนักงานคนหนึ่งเป็นคนที่กล้าแสดงออกอยู่เสมอและมักจะเป็นที่ชื่นชอบจากหลาย ๆ แผนก ดังนั้นหัวหน้างาน อาจจะเลือกวิธีการชมพนักงานคนนั้นต่อหน้าผู้อื่น เพื่อเพิ่มกำลังใจ และให้คนอื่นได้รับรู้ด้วย ซึ่งวิธีนี้ไม่สามารถใช้ได้กับคนทุกประเภท
พนักงานบางคนต้องการถูกกระตุ้นจากการแข่งขันในการทำงาน ซึ่งแต่ละคนนั้นก็มีลักษณะที่แตกต่างออกไป เช่น ในส่วนของ งานบริการลูกค้า นั้นคือการทำให้ลูกค้าพึงพอใจกับการใช้ผลิตภัณฑ์ แต่อาจจะทำนอกเหนือจากหน้าที่เพื่อสอดคล้องและเพื่อบรรลุเป้าหมายของบริษัทก็ได้
- เจาะจงและตรงไปตรงมาในขณะที่คุณกำลังทำงานเพื่อบรรลุ เป้าหมาย นั้น บางครับอาจจะต้องพบกับสิ่งที่ค้างคาอยู่ในใจ หรือปัญหาใด ๆ ก็ตาม คำแนะนำที่ดีจะทำให้คุณสามารถรักษาความกระตือรือร้นในการทำงานไว้ได้อยู่
- คำแนะนำที่พอดีจะช่วยให้คนที่กำลังประสบปัญหากับการทำงานอยู่ รู้สึกดีขึ้น แต่ว่าคุณจะต้องรู้จักพนักงานคนนั้น ๆ ว่ากำลังเผชิญอยู่กับอะไร และเป็นคนแบบไหน จึงจะสามารถที่ให้แนะนำ คำชี้แนะได้อย่างถูกต้องและพอดีเพื่อที่จะไม่ทำให้พนักงานคนนั้นรู้สึกแย่ลง
- เกี่ยวข้องกับเป้าหมายของบริษัทสมองของคนเราจะโฟกัสที่เป้าหมายต่อพนักงานในการทำงานร่วมกัน และเป้าหมายยังสามารถช่วยให้พนักงานเห็นคุณค่าและสร้างภาพลักษณ์ให้กับบริษัทอีกด้วย
- วางตารางเวลาเพื่อการสนทนาสำหรับการสนทนาผ่านอีเมลนั้น บางครั้งอาจจะเกิดความผิดพลาดด้านข้อมูล หรือการตีความหมายที่ผิดเพี้ยนไป ดังนั้นการพูดคุยกันแบบตัวต่อตัวจะดีที่สุด อย่างไรก็ตามคำแนะนำเชิงลบนั้นจะส่งผลกระทบให้มีอาการเครียดต่อสมองน้อยกว่าการไม่มีคำแนะนำใด ๆ เลย ดังนั้นคำแนะนำไม่ว่าจะบวก หรือลบ จะส่งผลดีได้อย่างแน่นอนกับพนักงานที่พร้อมจะพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ
- ส่งข้อความที่ให้กำลังใจดี ๆควบคู่ไปกับการใส่กราฟิกลงไปด้วยเพื่อเพิ่มความน่าสนใจในการอ่าน และดึงดูดความสนใจมากขึ้น
- สร้างจุดเด่นให้กับพนักงานเมื่อต้องเผชิญกับคำแนะนำเชิงลบถ้าเริ่มการพูดคุยด้วยคำแนะนำเชิงลบ หรือคำติเตียน ข้อความเหล่าอาจจะกลายเป็นผลร้ายแก่ตัวพนักงานมากกว่าการเริ้มพูดคุยมองหาจุดเด่นของพนักงานแทน อย่างไรก็ตาม หัวหน้างาน ควรพร้อมที่จะเปิดรับคำเสนอแนะจากพนักงานทุก ๆ คนอยู่เสมอ
- ถาม ตอบทั้ง 2 ฝ่ายเกี่ยวกับข้อเสนอแนะอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับบริษัท เพื่อความเสมอภาคทั้งฝ่าย ในการพูดคุยเพื่อรับข้อเสนอแนะซึ่งกันและกัน
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
การพัฒนาศักยภาพผู้บริหาร
6 กลยุทธ์ของผู้นำ