อัตราแรกจ้างพนักงานจบใหม่ตามวุฒิการศึกษา จากผลการสำรวจค่าจ้างปี 2556 (ตอนจบ)

อัตราแรกจ้างพนักงานจบใหม่ตามวุฒิการศึกษา จากผลการสำรวจค่าจ้างปี 2556 (ตอนจบ)
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

8870_100 ตอนสุดท้ายของอัตราแรกจ้างตามวุฒิการศึกษา สำหรับพนักงานที่เพิ่งจบการศึกษาใหม่ ๆ และเข้าทำงานในบริษัท จากที่ได้เล่าให้อ่านกันตั้งแต่ระดับ ปวช. ปวส. และปริญญาตรี วันนี้ก็เป็นวุฒิการศึกษาสุดท้ายที่มีในรายงานผลการสำรวจ ค่าจ้าง เงินเดือนของทางสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) และของ บริษัท การจัดการธุรกิจ จำกัด (BMC) ซึ่งก็คือวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโทนั่นเอง

ผมขออนุญาตย้ำอีกครั้งสำหรับวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาโทนี้ จะเป็นวุฒิการศึกษาสำหรับตำแหน่งงานที่บริษัทต้องการว่าจ้างพนักงานที่วุฒิการศึกษาขั้นต่ำที่ปริญญาโทเลยนะครับ ไม่ใช่เปิดรับระดับปริญญาตรี แต่มีคนจบโทมาสมัครแล้วบริษัทเกิดสนใจและรับเข้าทำงาน ในกรณีหลังนี้ บริษัทส่วนใหญ่จะจ่ายผู้สมัครคนนื้ในระดับปริญญาตรีตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ครับ

ดังนั้นอัตราแรกจ้างตามวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาโทนี้ จึงเป็นอัตราแรกจ้างที่ว่าจ้างพนักงานด้วยวุฒิการศึกษานี้เป็นขั้นต่ำเลย ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นงานที่ต้องอาศัยความรู้ในเชิงวิเคราะห์มากขึ้นกว่าเดิม

salary starting3

เมื่อเทียบอัตราค่าเฉลี่ยของปริญญาโทของปี 2555 เทียบกับผลของปี 2556 ก็จะพบว่า อัตราแรกจ้างเพิ่มสูงขึ้นทุกสาขาวิชา ทั้งนี้ก็ด้วยเหตุผลว่าปริญญาตรีขยับขึ้นเป็นเป็นเฉลี่ยกันที่ 15,000 บาท ก็เลยทำให้บริษัทที่ต้องการว่าจ้างพนักงานด้วยวุฒิปริญญาโท ก็ต้องขยับอัตราแรกจ้างของตนเองขึ้นให้ห่างออกไป เพื่อที่จะสามารถดึงดูดผู้สมัครเข้ามาได้

โดยสรุปภาพรวมของอัตราแรกจ้างตามวุฒิการศึกษาในปี 2556 นั้น สามารถบอกได้เลยว่า ขยับตัวเพิ่มสูงขึ้นแทบจะทุกระดับการศึกษา และทุกสาขาวิชา ดังนั้นข้อมูลเหล่านี้ ก็น่าจะเป็นข้อมูลอ้างอิงที่ทำให้ฝ่ายบุคคลของบริษัทนำมาพิจารณาว่าอัตราแรกจ้างของบริษัทเรานั้น พอที่จะยังแข่งขันกับตลาดได้หรือไม่ เปิดรับสมัคร พนักงานใหม่ แล้ว มีคนมาให้เราเลือกมากพอหรือไม่ หรือประกาศไปก็พอมีมาให้เลือก แต่พอเลือกแล้ว บอกอัตรา เงินเดือน ผู้สมัครต่างก็พากันปฏิเสธกันทั้งหมด เนื่องจากอัตราไม่สามารถแข่งขันกับตลาดได้

อย่างไรก็ดี ในการพิจารณากำหนดอัตราแรกจ้างตามวุฒิการศึกษานี้ บริษัทเองจะต้องมีการกำหนดคุณสมบัติของพนักงานอย่างชัดเจนว่าต้องการคนแบบไหน มีคุณสมบัติอย่างไร ตรงนี้ต้องชัดมาก ๆ ครับ เพราะมิฉะนั้นแล้วเราจะไม่สามารถกำหนดอัตราแรกจ้างที่แข่งขันได้เลย

เช่น ถ้าบริษัทของเราต้องการวิศวกร ประเภทต่อยอดมาจากวุฒิการศึกษา ปวส. เนื่องจากต้องการวิศวกรที่ต้องลุยงาน ทนแดดทนฝน พร้อมที่จะทำงานได้ในทุกสถานการณ์ อัตราแรกจ้างของวิศกรกลุ่มนี้ก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง หรือในทางตรงกันข้ามบริษัทต้องการวิศวกรที่จบสายสามัญมาโดยตรง และต้องการวิศวกรที่เข้ามาใช้ความคิดวิเคราะห์ หาแนวทางในการแก้ไขและปรับปรุงกระบวนการทำงาน วิศกรกลุ่มนี้ก็จะเป็นอีกราคาหนึ่ง

ดังนั้นอัตราแรกจ้างที่ผมนำมาเล่าให้อ่านกัน 3 ตอนนั้น เป็นอัตราเฉลี่ยในตลาดที่ได้จากการสำรวจของ PMAT และ BMC เท่านั้น ไม่ได้แยกคุณลักษณะของคนที่องค์กรต้องการ เช่นบางองค์กรบอกว่าต้องการคนเก่งที่จบใหม่ๆ ขอเป็นระดับที่ว่าเรียนเก่งที่สุดในคณะเลยยิ่งดี องค์กรเหล่านี้จะกำหนดอัตราแรกจ้างที่สูงมาก อยู่ประมาณ P75 ของตลาดเลยก็มี ผิดกับองค์กรที่ต้องการพนักงานไม่ต้องเก่งมาก เอาเข้ามาเพื่อทำงานง่าย ๆ ไม่ได้ซับซ้อนอะไร เป็นงานประจำ ๆ ทั่วๆไปประจำวัน ก็อาจจะกำหนดอัตราแรกจ้างที่ต่ำกว่าอัตราที่ตลาดกำหนดไว้ก็เป็นไปได้ครับ นอกจากเหตุผลดังกล่าวแล้ว ในกลุ่มธุรกิจที่แตกต่างกัน ก็อาจจะมีการกำหนดอัตราแรกจ้างที่ต่างกันไปอีกด้วย

ผมคิดว่าสิ่งที่ฝ่ายบุคคลควรจะพิจารณาว่าอัตราแรกจ้างของเรานั้น ยังใช้การได้หรือไม่นั้น ไม่ได้อยู่ที่การจ่ายสูงกว่าบริษัทอื่น แต่อยู่ที่ว่าเราสามารถที่จะดึงดูด ผู้สมัคร ได้ตามคุณสมบัติที่เราต้องการได้จริง ๆ หรือไม่ ถ้าอัตราของบริษัทยังสามารถดึงดูดคนได้ตามคุณสมบัติที่เราต้องการ ก็แปลว่าอัตราแรกจ้างของบริษัทเรายังสามารถใช้งานได้อยู่ ไม่จำเป็นต้องปรับอะไรมากมาย

อีกประการหนึ่งที่จะต้องพิจารณาก็คือ องค์กรประกอบของค่าจ้าง ซึ่งแต่ละบริษัทอาจจะกำหนดไว้แตกต่างกันไป บางบริษัทมีเงินเดือน และบวกด้วยค่าวิชาชีพในบางสาขาวิชา หรืออาจจะบวกด้วยค่าครองชีพ ค่าตำแหน่ง ฯลฯ ซึ่งอาจจะทให้อัตราเงินเดือนมูลฐานที่เป็นอัตราแรกจ้างของบริษัทที่กำหนดไว้นั้นต่ำกว่าที่รายงานก็เป็นได้ แต่เมื่อรวมกับ ค่าจ้าง อื่น ๆ ที่ให้เพิ่มเติม ก็อาจจะเท่ากับ หรือสูงว่าอัตราแรกจ้างจากการสำรวจก็เป็นไปได้เช่นกัน เนื่องจากแต่ละบริษัทล้วนมีองค์ประกอบและนโยบายการจ่ายค่าจ้างที่ไม่เหมือนกัน

ดังนั้นการจะนำเอาข้อมูลอะไรไปใช้ก็คงจะต้องพิจารณาพื้นฐานการจ่ายของบริษัทตนเองให้ชัดเจนก่อน เราจึงจะสามารถนำเอาข้อมูลของตลาดมาเปรียบเทียบได้บนฐานเดียวกันครับ

ที่มา : ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

อัตราแรกจ้างพนักงานจบใหม่ตามวุฒิการศึกษา จากผลการสำรวจค่าจ้างปี 2556 (ตอนที่2)

อัตราแรกจ้างพนักงานจบใหม่ตามวุฒิการศึกษา จากผลการสำรวจค่าจ้างปี 2556 (ตอนที่ 1)

More from this category: การเป็นผู้นำ

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
ท่านได้ยอมรับคำประกาศเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล และนโยบายความเป็นส่วนตัวเพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หากท่านมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ท่านได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง เพื่อยินยอมให้ Jobsdb และบริษัทในเครือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ท่านสามารถยกเลิกได้ทุกเวลา