ข้อมูลจากสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยระบุว่า ปัจจุบันคนทำงานใน ธุรกิจท่องเที่ยว ของไทย รวมทั้ง ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจบริการ ธุรกิจนำเที่ยว ธุรกิจของที่ระลึก และธุรกิจต่อเนื่องต่าง ๆ มีอยู่กว่า 4 ล้านคน แบ่งเป็นการจ้างงานโดยตรง 2.5 ล้านคน และ การจ้างงาน โดยอ้อมอีก 2 ล้านคน ซึ่งถือว่ายังน้อยเมื่อเทียบกับเม็ดเงินที่จะหลั่งไหลเข้าประเทศจากธุรกิจ ท่องเที่ยวของไทย คิดเป็น 8% ของ GDP หรือ 1 ล้านล้านบาท แสดงให้เห็นว่าเรายังมีโอกาสเติบโตในภาคท่องเที่ยวอีกมาก อยู่ที่ว่าเราจะสามารถพัฒนาทักษะแรงงานไทยให้เข้าสู่ธุรกิจท่องเที่ยวมาก ขึ้นได้อย่างไร
ความเสียเปรียบด้านภาษา
ในแหล่งท่องเที่ยวมีชาวต่างชาติจำนวนมากอย่าง ภูเก็ต และทะเลฝั่งอันดามันนั้นมีชาวต่างชาติเข้ามาทำงานจากความได้เปรียบทางด้าน ภาษา ทั้งคนอินเดีย คนฟิลิปปินส์ เข้ามาเป็น Concierge มาทำ งานบัญชี ทำงานบนเรือสำราญ แย่งโอกาสงานคนไทยไปบ้างแล้ว เพียงเพราะภาษาอังกฤษเราอ่อนกว่าเขา หากเรายังไม่รีบพัฒนาภาษา ก็ยิ่งจะเป็นโอกาสให้ชาวต่างชาติเข้ามาทำงานเก็บเกี่ยวรายได้จากการท่อง เที่ยวในประเทศเรามากขึ้น ทั้งนี้ คนทำงานโรงแรมและขายของจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี เพราะรายรับของภาคท่องเที่ยว 1 ใน 3 มาจากการขายของที่ระลึกนั่นเอง
ขาดความรู้ด้านวัฒนธรรม
เมื่อเพื่อนบ้านอาเซียนเข้ามาท่องเที่ยวมาก ขึ้น นอกจากภาษาที่จะใช้ในการสื่อสารกันแล้ว เรายังควรมีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของเพื่อนบ้าน เข้าใจความความแตกต่างของชาติต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการติดต่อสัมพันธ์กัน สร้างความคุ้นเคย และไม่เกิดความเข้าใจผิด จนอาจนำมาซึ่งความขัดแย้งต่อกัน การที่คนไทยไม่ค่อยสนใจประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้เราไม่มีโอกาสรู้ได้เลยว่าแต่ละประเทศ เขามีความรู้สึกนึกคิดอย่างไร มีขนบธรรมเนียมอะไร หรือมีการพัฒนาไปถึงไหนแล้ว และเราอยู่ตรงไหนเมื่อเทียบกับที่อื่น ซึ่งทำให้เรายังคิดว่าเราเหนือกว่าเขาทั้งที่จริง ๆ แล้วไม่ใช่เลย
ฝึกภาษาที่ 3 สร้างความได้เปรียบ
ทราบหรือไม่ว่าเพื่อนบ้านของเรารู้มากกว่า 2 ภาษากันทั้งนั้น การที่เราใช้ภาษาอังกฤษได้ เป็นเพียงการก้าวสู่มาตรฐานอาเซียนเท่านั้น แต่การที่จะสร้างความได้เปรียบนั้นเราควรรู้ภาษาที่ 3 ได้แก่ ภาษาจีน ซึ่งจีนเป็นประเทศที่มีประชากรมากถึง 1 ใน 4 ของโลก และประชากรเหล่านี้ได้กระจายไปทั่ว
อาเซียน ทำให้มีการใช้ภาษาจีนสื่อสารกันในหลายประเทศ ทั้งบรูไน กัมพูชา มาเลเซีย ฟิลิปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม อีกหนึ่งภาษาที่น่าสนใจคือ ภาษาบาฮาซาของ อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศมีประชากรกว่า 200 ล้านคน และยังถูกใช้ในประเทศมาเลเซียด้วย นับเป็นตลาดใหญ่อีกตลาดหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม เมื่อคนอินโดนีเซียเริ่มออกท่องเที่ยวมากขึ้น นั่นหมายถึงโอกาสที่เพิ่มขึ้นของเราด้วย
นอกจากเราจะเป็นฝ่ายให้บริการนักท่องเที่ยวที่ เข้ามาในเมืองไทยแล้ว เรายังสามารถพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ของเราไม่ว่าจะเป็นด้านภาษา และทักษะในงานบริการ เพื่อไปทำงานในประเทศอื่นที่มีค่าตอบแทนสูงขึ้นได้ เพราะคนไทยมีความอดทนและหัวใจบริการอยู่แล้ว ถ้ามุ่งมั่นฝึกภาษาและเรียนรู้วัฒนธรรมของเพื่อนบ้านเพิ่มเติมก็ไม่ต้องกลัว ถูกแย่ง งาน แถมยังมีโอกาสได้โกอินเตอร์อีกด้วย
ที่มา :เนชั่นสุดสัปดาห์
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ภาษาอังกฤษของคนไทย อยู่ตรงไหนในอาเซียน
จะเอาตัวรอดในอาเซียนอย่างไร? เมื่อความท้าทายบัณฑิตใหม่ ไม่ใช่แค่"ภาษาอังกฤษ"