นักพัฒนาแอพพลิเคชั่น
ในหน้านี้
- การเป็นa นักพัฒนาแอพพลิเคชั่นเป็นอย่างไร
- วิธีการเป็นนักพัฒนาแอพพลิเคชั่น
- งานนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นล่าสุด
- ทักษะและประสบการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับนักพัฒนาแอพพลิเคชั่น
ตำแหน่งนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นคืออะไร?
ในยุคปัจจุบันนี้ที่สมาร์ทโฟนถือเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิต นักพัฒนาแอพพลิเคชั่นจึงเป็นอาชีพที่เป็นที่ต้องการขององค์กรต่าง ๆ มากมาย นักพัฒนาแอพพลิเคชั่นจำเป็นต้องมีความรอบรู้ทั้งด้านเทคโนโลยี ต้องเขียนโปรแกรมและและใช้ภาษาสำหรับพัฒนาโปรแกรมที่มีหลากหลายภาษาได้อย่างชำนาญ เพื่อที่จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับโปรแกรมหรือแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม และพร้อมที่จะเรียนรู้ หาทักษะเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพิ่มเติมอยู่เสมอ เนื่องจากเทคโนโลยีเติบโตอย่างต่อเนื่อง นักพัฒนาแอพพลิเคชั่นจะแบ่งเป็นสองส่วน คือ Frontend Developer และ Backend Developer ข้อแตกต่างของทั้งสองหน้าที่นี้ก็คือ Frontend Developer มีหน้าที่ในการออกแบบหน้าเพจ หน้าแอพพลิเคชั่น เนื้อหา รูปภาพ ลิงก์ต่าง ๆ ให้ใช้งานง่าย สะดวกและสวยงาม สำหรับหน้าที่ของ Backend Developer นั้นก็คือในส่วนของการดูแลความปลอดภัยของเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นไม่ให้มีใครเข้าถึงฐานข้อมูลได้ รวมถึงจัดการฐานข้อมูล โครงสร้างเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่น และการเขียนโค้ดควบคุม นอกจากจะต้องมีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีเป็นอย่างดีแล้ว ยังต้องมีความอดทน ละเอียดรอบคอบ ใส่ใจรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ รวมถึงทำงานภายใต้ความกดดันได้เป็นอย่างดี และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีเนื่องจากต้องทำงานร่วมกับหลายฝ่ายอีกด้วย สิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือทักษะด้านภาษาอังกฤษ ที่อย่างน้อยควรจะมีทักษะด้านการอ่าน สำหรับศึกษาบทความต่าง ๆ เพื่อการเรียนรู้เพิ่มเติมด้วยตัวเอง เนื่องจากบทความส่วนใหญ่จะเป็นภาษาอังกฤษ
หน้าที่และความรับผิดชอบของ
- เก็บข้อมูล สอบถามความต้องการ รวมถึงดีไซน์ที่ลูกค้าต้องการ
- วางแผน ออกแบบ พัฒนา สร้างสรรค์แอพพลิเคชั่นตามโจทย์ที่ได้รับร่วมกับทีม
- ทดสอบและตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการให้เป็นไปตามต้องการ
- ประเมินผลการทำงานของแต่ละขั้นตอน พร้อมประเมินความเสี่ยง
- ดูแลและแก้ไขข้อบกพร่องของซอฟต์แวร์ให้ได้ตามประสิทธิภาพ
- ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
อยากเป็นนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นต้องทำอย่างไร
หากต้องการทำอาชีพนักพัฒนาแอปพลิเคชั่น ต้องมีวุฒิการศึกษาระดับปริญาตรีจากหลักสูตรและสาขาที่เกี่ยวข้อง
- 1.
วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีจากหลักสูตรทางด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์และสาขาทางด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
- 2.
สมัครงานในตำแหน่งที่เกี่ยวข้อง โดยเริ่มจาก Developer ระดับ Junior แล้วจึงเลื่อนขั้นเป็น Senior และ Team Lead ตามลำดับ
- 3.
ศึกษาหรือเข้าคอร์สต่าง ๆ เพื่อสั่งสมทักษะและความรู้ใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เนื่องจากเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างรวดเร็ว