ผู้จัดการโลจิสติกส์
ในหน้านี้
- การเป็นa ผู้จัดการโลจิสติกส์เป็นอย่างไร
- วิธีการเป็นผู้จัดการโลจิสติกส์
- งานผู้จัดการโลจิสติกส์ล่าสุด
- ทักษะและประสบการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับผู้จัดการโลจิสติกส์
ตำแหน่งผู้จัดการโลจิสติกส์คืออะไร?
ผู้จัดการโลจิสติกส์ หรือ ที่เรียกกันว่าผู้จัดการซัพพลายเชน เป็นอีกหนึ่งในหน้าที่ที่สำคัญขององค์กร เพราะต้องควบคุม บริหารงานดูแลตั้งแต่ผู้ผลิต ไปจนถึงผู้ซื้อและผู้ขายวัตถุดิบเพื่อให้เป็นไปอย่างราบรื่น ผู้จัดการโลจิสติกส์ จำเป็นต้องมีความสามารถและทักษะในการวางแผนเป็นอย่างดี เพราะจำเป็นต้องวางแผนตั้งแต่การซื้อขายวัตถุดิบ การจัดเก็บวัตถุดิบ การผลิต การจัดเก็บสินค้าที่ผลิตออกมา ไปจนถึงการจัดส่งให้ถึงมือลูกค้า นอกจากนี้ยังต้องพัฒนากระบวนการผลิต เพื่อให้สามารถลดต้นทุน เพิ่มผลกำไร ลดระยะเวลาการผลิตไปจนถึงการคงคุณภาพของสินค้าอีกด้วย ดังนั้น นอกจากความรู้และทักษะเรื่องสินค้าและธุรกิจที่องค์กรทำอยู่ จึงควรต้องมีทักษะด้านการคำนวณ การวางแผน การจัดการ และการติดต่อประสานงานอีกด้วย
หน้าที่และความรับผิดชอบของ
- ต่อรองราคา และจัดวางแผนการซื้อขาย และขนส่งวัตถุดิบจากแหล่งผลิต
- ดูแลพื้นที่ในโกดัง การเก็บของ การขนส่งและการบริการลูกค้า
- ค้นคว้าหาข้อมูลเรื่องการขนส่ง เส้นทางขนส่งและอุปกรณ์หรือยานพาหนะต่าง ๆ ที่ใช้ในการขนส่ง
- ประเมินราคาต้นทุนทุก ๆ ขั้นตอนตั้งแต่การผลิตไปจนถึงขนส่งให้ถึงมือลูกค้า
- คอยดูแลขั้นตอนตั้งแต่การผลิตไปจนถึงการส่งของถึงลูกค้าให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฏหมาย
- ดูแล และช่วยแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างกระบวนการทำงาน
- จัดการเรื่องการจัดเก็บสินค้าคงคลัง ดูแลบัญชีรายการสินค้า
- กำหนดงบประมาณในกระบวนการทำงาน และควบคุมดูแลงบให้อยู่ในเกณฑ์ตามที่กำหนด
- มีความรู้เรื่องกฏหมายการนำเข้า ส่งออกเบื้องต้น และสามารถจัดการเอกสารที่ต้องใช้ในการขนส่งได้
อยากเป็นผู้จัดการโลจิสติกส์ต้องทำอย่างไร
การเป็นผู้จัดการโลจิสติกส์ นอกจากจะต้องจบการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้ว ยังต้องผ่านประสบการณ์การทำงานมาระยะหนึ่งอีกด้วย เนื่องจากเป็นสายงานที่ต้องใช้ประสบการณ์และทักษะเป็นอย่างสูง
- 1.
จบการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาการจัดการโลจิสติกส์ วิทยาการเดินเรือ การค้าระหว่างประเทศ หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- 2.
สมัครงานในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องในระดับพนักงานเพื่อสั่งสมประสบการณ์ ระหว่างนั้นสามารถหาความรู้และทักษะได้โดยการเรียนเพิ่มเติม เช่น การจัดการ ภาษาอังกฤษ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการ การคำนวณต้นทุน กำไร ฯลฯ
- 3.
หลังจากทำงานประมาณห้าปีขึ้นไป จึงสามารถสมัครงานในตำแหน่งผู้จัดการโลจิสติกส์ได้
- 4.
เส้นทางสายอาชีพของผู้จัดการโลจิสติกส์ สามารถเลื่อนตำแหน่งไปในระดับหัวหน้างาน และผู้บริหารได้