นักจุลชีววิทยา
ในหน้านี้
- การเป็นa นักจุลชีววิทยาเป็นอย่างไร
- วิธีการเป็นนักจุลชีววิทยา
- งานนักจุลชีววิทยาล่าสุด
- ทักษะและประสบการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับนักจุลชีววิทยา
ตำแหน่งนักจุลชีววิทยาคืออะไร?
หน้าที่หลักของนักจุลชีววิทยาคือการศึกษาและทดลองเกี่ยวกับจุลชีววิทยา หรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก เพื่อนำความรู้เหล่านั้นมาใช้ในอุตสาหกรรมหลากหลายไม่ว่าจะเป็น อุตสาหหกรรมการแพทย์ สิ่งแวดล้อม หรือเทคโนโลยีชีวภาพ
หน้าที่และความรับผิดชอบของ
- ทำการทดลองด้านจุลวิทยาที่ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรมที่ทำอยู่
- ตั้งสมมติฐาน ทำการทดลอง เก็บผลการทดลอง ทำรายงานสรุปผล และรายงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
- ตรวจสอบอุปกรณ์ เครื่องมือในการทำการทดลองให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานเสมอ
- ดูแลความสะอาดของห้องทดลอง
- ตรวจดูสารเคมี และอุปกรณ์ที่ใช้ทำงานในห้องทดลอง และทำการสั่งซื้อให้มีปริมาณเพียงพอเสมอ
- ประสานงานกับแผนกอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ฟังความต้องการ หรือ รายงานผลการทดลอง
- ทำงานด้วยมาตรฐานความปลอดภัยในห้องทดลองเสมอ
นักจุลวิทยาสามารถแบ่งการทำงานได้หลากหลายสาขา เช่น จุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อม จุลชีววิทยาของอาหาร จุลชีววิทยาของอากาศ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม หน้าที่ของแต่ละสาขามักจะเน้นการตรวจวิเคราะห์สารต่าง ๆ การหาสารพันธุกรรมของเชื้อก่อโรค ทำหน้าที่ตรวจตราและควบคุมคุณภาพสารต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรม ดังนั้นนอกจากความรู้ทางชีววิทยาแล้ว จึงควรมีทักษะในการตั้งสมมติฐาน วิเคราะห์ ทดสอบ เก็บข้อมูล มีความช่างสังเกต และการสื่อสารเป็นอย่างดีอีกด้วย
อยากเป็นนักจุลชีววิทยาต้องทำอย่างไร
เนื่องจากนักจุลชีววิทยาสามารถแบ่งออกได้เป็นหลากหลายสาขา อย่างไรก็ตาม เส้นทางการเป็นนักจุลชีววิทยา ต้องเริ่มต้นด้วยการเรียนระดับปริญญาตรีในสาขาที่เกี่ยวข้อง
- 1.
จบการศึกษาปริญญาตรีในสาขาวิทยาศาสตร์ สาขาจุลชีววิทยา หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- 2.
สมัครงานในตำแหน่งที่เกี่ยวข้อง โดยสามารถสมัครงานในองค์กรเอกชน องค์การการแพทย์ หรือสมัครเป็นข้าราชการ โดยเริ่มจากการเป็นข้าราชการระดับปฏิบัติการ (C3-5) และสามารถทำงานสั่งสมประสบการณ์ และสอบเลื่อนขั้นได้ในอนาคต
- 3.
หาความรู้และทักษะอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น การใช้ซอฟต์แวร์การนำเสนอ ภาษาอังกฤษ การสื่อสาร ฯลฯ
- 4.
เส้นทางสายอาชีพของนักจุลชีววิทยาสามารถเลื่อนตำแหน่งไปเป็นระดับหัวหน้างานได้