ผู้ดูแลระบบเครือข่ายเน็ตเวิร์ค
ในหน้านี้
- การเป็นa ผู้ดูแลระบบเครือข่ายเน็ตเวิร์คเป็นอย่างไร
- วิธีการเป็นผู้ดูแลระบบเครือข่ายเน็ตเวิร์ค
- ทักษะและประสบการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับผู้ดูแลระบบเครือข่ายเน็ตเวิร์ค
ตำแหน่งผู้ดูแลระบบเครือข่ายเน็ตเวิร์คคืออะไร?
หน้าที่หลักของผู้ดูแลระบบเครือข่ายเน็ตเวิร์คนั้นจะต้องคอยดูแลเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรที่ตนเองทำงานอยู่ โดยเริ่มจากการช่วยวางนโยบายการใช้งาน การควบคุม ดูแล และป้องกันความปลอดภัยให้กับระบบ ไปจนถึงการช่วยทำคู่มือการใช้งานระบบเครือข่ายและสอนการใช้งานให้กับพนักงานในองค์กร อีกทั้งยังต้องทำงานร่วมกับคนในแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อประสานงานด้านการใช้งานและซ่อมแซม
หน้าที่และความรับผิดชอบของ
- ดูแล ควบคุมระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของคนในองค์กร
- ติดตั้งระบบเครือข่าย คอยติดตามผล อัพเดท และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
- ติดตั้งอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น ฮาร์ดแวร์ หรือซอฟต์แวร์ที่คอยใช้ในการป้องกันความปลอดภัย และคอยอัพเดทให้ใช้งานได้อยู่เสมอ
- ตรวจตรา และ แก้ไขระบบความปลอดภัยของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ให้สามารถ ใช้งานได้เสมอ
- ตั้งนโยบาย ควบคุม และสอนวิธีการใช้งานระบบเครือข่ายให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง
- ติดต่ประสานงานกับองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการดูแลรักษาความปลอดภัยของระบบ เช่น บริษัทตั้ง Firewall หรือ บริษัทติดตั้งอินเตอร์เน็ต
- รายงานเรื่องปัญหาของระบบให้กับคณะผู้บริหารหรือผู้เกี่ยวข้อง
นอกจากความรู้พื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์ การใช้ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์แล้ว ยังต้องมีทักษะในการจัดการ มีทักษะในการแก้ไขปัญหาเป็นอย่างดี เพราะหากเกิดปัญหาขึ้นกับระบบเครือข่าย อาจส่งผลเสียต่อทั้งองค์กรได้ นอกจากนี้ ยังควรมีความใจเย็น ละเอียดรอบคอบ และสามารถสื่อสารพูดคุยถึงปัญหาและความต้องการของคนในองค์กรได้อีกด้วย
อยากเป็นผู้ดูแลระบบเครือข่ายเน็ตเวิร์คต้องทำอย่างไร
การเป็นผู้ดูแลระบบเครือข่ายเน็ตเวิร์ค จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และมีทักษะในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบเครือข่ายเป็นอย่างดี จึงควรจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไป
- 1.
จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- 2.
สมัครงานในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องแล้วทำงานสั่งสมประสบการณ์ ระหว่างนั้น สามารถเรียนรู้ทักษะอื่น ๆ ที่จำเป็น เช่น การจัดการ การจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ การบริหาร เป็นต้น
- 3.
เส้นทางสายอาชีพของผู้ดูแลระบบเครือข่ายเน็ตเวิร์คสามารถพัฒนาไปเป็นระดับหัวหน้างานและผู้บริหารได้