นักพยาธิวิทยา
ตำแหน่งนักพยาธิวิทยาคืออะไร?
หน้าที่หลักของนักพยาธิวิทยาคือ วินิจฉัยโรคจากการวิเคราะห์ดูความเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้าง และรูปร่างของเนื้อเยื่อหรือเซลล์ ซึ่งครอบคลุมไปถึงการตรวจเลือด ปัสสาวะ อุจจาระ หรือเนื้อเยื่อจากผู้ป่วย จากนั้นจึงทำการวินิจฉัยโรค หรือทำการวิเคราะห์เพิ่มเติมแล้วค้นคว้าวิจัย เพื่อนำไปเป็นองค์ความรู้ทางการแพทย์ หลังจากวิเคราะห์ผลการตรวจสอบแล้ว พยาธิแพทย์จะต้องส่งต่อข้อมูลให้แพทย์เพื่อทำการรักษาผู้ป่วย หรือประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องในกรณีที่เป็นการตรวจสอบเนื้อเยื่อจากผู้เสียชีวิต เพื่อนำใช้เป็นหลักฐานในชั้นศาลเป็นต้น
หน้าที่และความรับผิดชอบของ
- แปลผลค่าในผลแล็บทั่วไป เช่น การตรวจเลือดและดูค่าน้ำตาล ค่าไขมันในเลือด การมองหาสารในปัสสาวะ เป็นต้น
- ตรวจสอบเนื้อเยื่อของผู้ป่วย หรือของผู้เสียชีวิต วินิจฉัยและดูความผิดปกติที่เกิดขึ้นในเนื้อเยื่อ หรือสารที่ส่งมาตรวจ
- ทำรายงานผลการตรวจจากนั้นประสานงานกับแพทย์ หรือผู้เกี่ยวข้องให้รับทราบผลการตรวจ
- ในบางกรณี สามารถตรวจและวินิจฉัยโรค พร้อมสั่งยารักษาให้กับคนไข้ได้
- ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ พยาบาล หรือเภสัชกร
นอกจากความรู้เรื่องพยาธิวิทยาแล้ว นักพยาธิวิทยาจำเป็นต้องมีทักษะด้านการวิเคราะห์ ทักษะด้านวิทยาศาสตร์และการทดลอง และต้องมีความช่างสังเกต ละเอียดรอบคอบ นอกจากนี้จำเป็นต้องทำงานอย่างระมัดระวัง เพราะสถานที่ทำงานส่วนใหญ่จะเป็นห้องปฏิบัติการทดลองทางวิทยาศาตร์ซึ่งมีเครื่องมือ อุปกรณ์และสารเคมีมากมายอีกด้วย
อยากเป็นนักพยาธิวิทยาต้องทำอย่างไร
การเป็นนักพยาธิวิทยาจำเป็นต้องจบการศึกษาระดับปริญญาตรีและต้องเรียนต่อเฉพาะทางในสาขานี้เท่านั้น
- 1.
จบการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาแพทย์ศาสตร์ โดยใช้เวลาเรียนหกปี จากนั้นจึงเรียนต่อเฉพาะทางด้านพยาธิวิทยาเป็นเวลาสามปี
- 2.
สมัครงานในตำแหน่งที่เกี่ยวข้อง สามารถสมัครงานในโรงพยาบาลเอกชน หรือเข้ารับราชการได้
- 3.
ทำงานเพื่อสั่งสมประสบการณ์จากนั้นสามารถเลื่อนตำแหน่งไปในระดับหัวหน้างานหรือหัวหน้าแผนกการแพทย์ได้