นักบำบัดการพูด
ตำแหน่งนักบำบัดการพูดคืออะไร?
การเป็นนักบำบัดการพูด หรือ การทำอรรถบำบัดนั้น มีหน้าที่หลักในการตรวจหาข้อบกพร่อง วินิจฉัยกระบวนการพูด ระบบภาษา การทำงานของอวัยวะในช่องปาก คอ หลอดอาหารช่วงต้น ซึ่งนอกจากการพูดแล้ว ยังรวมถึงการกลืน การดื่มน้ำด้วย นักบำบัดการพูดมีหน้าที่ในการช่วยเหลือผู้ป่วยที่ประสบปัญหา อาจจะทางร่างกาย เช่น การเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านเส้นประสาท หรืออาจจะเป็นผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านพัฒนาการทางการพูดช้า ให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ หรือใกล้เคียงกับความปกติได้อีกครั้ง โดยจะทำการประเมิน และออกแบบการบำบัดโดยใช้เครื่องมือและระยะเวลาที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังต้องคอยบันทึกและติดตามผลความคืบหน้าของการบำบัดและประสานงานกับแพทย์ผู้เกี่ยวข้อง และครอบครัวหรือผู้ดูแลอีกด้วย การเป็นนักบำบัดการพูด จำเป็นต้องมีทักษะในการสื่อสาร ทักษะด้านจิตวิทยา การเก็บข้อมูล มีความช่างสังเกตและมีความละเอียดรอบคอบ นอกจากนี้ยังต้องมีใจบริการและมีความใจเย็นอีกด้วย
หน้าที่และความรับผิดชอบของ
- ประเมินอาการและปัญหาที่ผู้ป่วยมี และวินิจฉัยอาการจากผลการตรวจร่างกาย การซักถามประวัติจากผู้ดูแล
- ออกแบบการประเมินโดยใช้เครื่องมือ วิธีการ และระยะเวลาที่เหมาะสม
- ประสานงานกับแพทย์ผู้เกี่ยวข้อง เภสัชกร ญาติ หรือผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วย
- ทำการบำบัดให้ผู้ป่วยพร้อมบันทึกและติดตามผลการบำบัด พร้อมกับปรับเปลี่ยนวิธีการบำบัดให้เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วย
- ติดตามความรู้ทางการแพทย์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ
อยากเป็นนักบำบัดการพูดต้องทำอย่างไร
การเป็นนักบำบัดการพูด จำเป็นต้องจบการศึกษาระดับปริญญาตรีเป็นอย่างน้อย และจำเป็นต้องสอบใบอนุญาตในการทำงานอีกด้วย
- 1.
จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาความผิดปกติของการสื่อความหมาย สาขาโสตสัมผัสวิทยา หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้เวลาเรียนสี่ปี
- 2.
จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาที่เกี่ยวข้องและเรียนต่อปริญญาโทสาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟู ใช้เวลาเรียนประมาณสองปี
- 3.
สอบใบประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัดกับสภากายภาพบำบัด และต้องต่อใบอนุญาตทุก ๆ สามปี
- 4.
สมัครงานในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องและทำงานเพื่อสั่งสมประสบการณ์
- 5.
ระหว่างทำงานสามารถเรียนทักษะอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น จิตวิทยาเด็ก การใช้ซอฟต์แวร์ในการเก็บข้อมูล การเข้าสัมนาการใช้อุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ต่าง ๆ เป็นต้น
- 6.
เส้นทางสายอาชีพของนักบำบัดการพูดสามารถเลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนก หรือระดับหัวหน้างานได้