นักจิตวิทยาการปรึกษา
ในหน้านี้
- การเป็นa นักจิตวิทยาการปรึกษาเป็นอย่างไร
- วิธีการเป็นนักจิตวิทยาการปรึกษา
- งานนักจิตวิทยาการปรึกษาล่าสุด
- ทักษะและประสบการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับนักจิตวิทยาการปรึกษา
ตำแหน่งนักจิตวิทยาการปรึกษาคืออะไร?
การเป็นนักจิตวิทยาการปรึกษานั้น มีหน้าที่คล้ายคลึงกับจิตแพทย์ เพียงแต่จะเป็นการเน้นด้านสภาพจิตใจโดยเฉพาะ แต่ไม่สามารถรักษาแบบจิตบำบัดและออกใบสั่งยาได้ ผู้ให้คำปรึกษาจะใช้การพูดคุยมาช่วยในการหาข้อมูลของผู้ป่วย พร้อมกับทำความเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตของผู้ป่วยเพื่อทำการวิเคราะห์ และหาต้นตอของปัญหา โดยเฉพาะปัญหาที่มาจากจิตใจ เช่น สาเหตุของการมีชุดความคิดที่ไม่มีตรรกะ การยึดมั่นในอุดมการณ์ที่ไม่เหมาะสม หรือการไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้เป็นต้น โดยหลักการวินิจฉัย และรักษาเหล่านี้ จะไม่มีการใช้ยามาเป็นส่วนประกอบ มีเพียงการพูดคุย การฝึกความคิด หรืออาจมีกิจกรรมบางอย่างเข้าช่วย
หน้าที่และความรับผิดชอบของ
- ประเมิน และวินิจฉัยสภาพจิตใจของผู้ป่วย พร้อมทั้งพูดคุย ซักถามถึงความรู้สึก และปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิต
- สร้างกิจกรรม หรือวิธีการเยียวยาจิตใจที่เหมาะสมกับผู้ป่วย
- พูดคุย พร้อมสร้างจุดม่งหมายในการรักษาร่วมกับผู้ป่วย
- พูดคุยเกี่ยวกับแผนการที่จะช่วยให้ผู้ป่วยมีสภาพจิตใจที่ดีขึ้น
- บันทึกความคืบหน้าของการให้คำปรึกษา พร้อมปรับปรุงแผนการที่จะช่วยเยียวยาจิตใจผู้ป่วยให้เหมาะสม
คุณสมบัติหลักของการเป็นนักจิตวิทยาการปรึกษานั้น ต้องมีความเห็นอกเห็นใจเป็นอย่างมาก มีใจที่เปิดกว้าง และมีหลักการในการสื่อสารที่ดี เพื่อที่จะได้สื่อสารกับผู้ป่วยได้อย่างถูกหลัก
อยากเป็นนักจิตวิทยาการปรึกษาต้องทำอย่างไร
เส้นทางในการเป็นนักจิตวิทยาการปรึกษา นอกจากทักษะการฟัง การเห็นอกเห็นใจ และมีใจที่เปิดกว้างแล้ว ควรจะเข้ารับการศึกษาในระดับปริญญาตรีเป็นอย่างน้อย พร้อมทั้งมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
- 1.
จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี ในสาขาจิตวิทยาเป็นอย่างน้อย
- 2.
เรียนเพิ่มเติมในสาขาต่าง ๆ เช่น จิตวิทยาการศึกษา จิตวิทยาสังคม จิตวิทยาการแนะแนว เพื่อสามารถไปทำงานในสายที่สนใจได้ โดยในระหว่างเรียน จะมีการเข้าฝึกงาน หรือเข้าสังเกตการณ์เพื่อเพิ่มประสบการณ์
- 3.
ตำแหน่งนักจิตวิทยาการปรึกษานั้น นับว่าเป็นตำแหน่งที่ค่อนข้างใหม่สำหรับคนไทย หากแต่มีความต้องการสูง ผู้ที่ต้องการเป็นนักจิตวิทยาการปรึกษาจึงสามารถเลือกทำงานในโรงพยาบาล คลินิก หรือแม้กระทั่งพัฒนาอาชีพไปเป็นนักสังคมสงเคราะห์ นักแนะแนวด้านอาชีพ เป็นต้น