ผู้จัดการกองทุน
ในหน้านี้
- การเป็นa ผู้จัดการกองทุนเป็นอย่างไร
- วิธีการเป็นผู้จัดการกองทุน
- งานผู้จัดการกองทุนล่าสุด
- ทักษะและประสบการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับผู้จัดการกองทุน
ตำแหน่งผู้จัดการกองทุนคืออะไร?
หน้าที่หลักของการเป็นผู้จัดการกองทุนคือ การวิเคราะห์การเงิน วิเคราะห์ความเสี่ยงและกองทุนต่าง ๆ ให้กับผู้ลงทุน และทำการตัดสินใจกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ที่เหมาะสมในช่วงเวลา และสถานการณ์นั้น ๆ โดยทั่วไปผู้ลงทุนจะไม่ได้ติดต่อกับผู้จัดการกองทุนโดยตรง ในการใช้บริการจะติดต่อผ่านสังกัดบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน หรือ บลจ. แทน ดังนั้น ผู้จัดการกองทุน จึงต้องคอยบริหารพอร์ตการลงทุนของลูกค้าให้ได้ผลตอบแทนดีที่สุด การเป็นผู้จัดการกองทุนนั้นจำเป็นต้องมีทักษะการวิเคราะห์ มีความละเอียดรอบคอบเป็นอย่างสูง เพราะการทำงานหลัก ๆ คือการทำกองทุนของลูกค้ามาหมุนเวียนเพื่อให้ได้ผลดีที่สุด ดังนั้น นอกจากความรอบรู้ด้านการเงิน การธนาคารแล้ว จึงต้องมีทักษะในการวิเคราะห์ พร้อมมีความช่างสังเกตและสามารถตามข่าวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ทัน นอกจากนี้ ยังต้องมีทักษะการสื่อสารที่ดี เพราะต้องทำการนำข้อมูลที่วิเคราะห์มาอธิบายให้ลูกค้าได้เข้าใจอีกด้วย
หน้าที่และความรับผิดชอบของ
- ประเมินสภาพทางการเงินในปัจจุบันของลูกค้า โดยอ้างอิงจากข้อมูลรายรับ รายจ่าย สินทรัพย์และหลักทรัพย์ที่มี
- วางแผนหลักการทางการเงิน และระดมทุนจากลูกค้าที่ต้องการสร้างผลตอบแทนทางด้านการลงทุนร่วมกัน
- นำเสนอข้อมูลทางการเงิน วิเคราะห์สถานการณ์ ประเมินความเสี่ยง ติดตามข่าวคราวทางการเงิน และวางแผนการป้องกันความเสี่ยงให้กับลูกค้า
- รับฟังความต้องการของลูกค้า พร้อมปรับแผนการทางการลงทุนและการเงินให้เหมาะสมกับลูกค้า รวมถึงติดตามผลเป็นระยะ
- ทำรายงานทางการเงินของลูกค้า พร้อมนำเสนอให้เข้าใจง่าย
- ติดตามผลทางด้านการเงิน พร้อมทั้งจ่ายผลตอบแทนมห้กับผู้ลงทุนอย่างเที่ยงตรง
- พัฒนานโยบายและกลยุทธ์การลงทุนอยู่เสมอ
อยากเป็นผู้จัดการกองทุนต้องทำอย่างไร
การเป็นผู้จัดการกองทุนนั้น จำเป็นต้องจบการศึกษาระดับปริญญาตรีก่อนและต้องสอบใบอนุญาตต่าง ๆ ที่จำเป็น
- 1.
จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ในสาขาการเงิน บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- 2.
สอบใบอนุญาตเป็นผู้จัดการกองทุน โดยการขึ้นทะเบียนขอใบอนุญาตนั้น จะต้องมีคุณสมบัติสำคัญสามส่วน คือ ส่วนของความรู้ ประสบการณ์ และจรรยาบรรณในวิชาชีพ
- 3.
สอบผ่านหลักสูตร Chartered Financial Analyst (CFA) ของ CFA Institute หรือ หลักสูตร Certified Investment and Securities Analyst (CISA) ของศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับตลาดทุนอย่างใดอย่างหนึ่ง หากสอบได้ในระดับ 1 หรือระดับ 2 จะต้องมีประสบการณ์ในงานด้านการวิเคราะห์ตลาดการลงทุน การบริหารความเสี่ยง หรือการวิจัยอย่างน้อย 2 ปีก่อนจะเป็นผู้จัดการกองทุนได้
- 4.
สอบจรรยาบรรณในวิชาชีพซึ่งจัดสอบโดยสมาคมบริษัทจัดการลงทุน หากผ่านแล้วจึงขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้จัดการกองทุน โดยขอขึ้นทะเบียนที่สำนักงาน ก.ล.ต.
- 5.
ทำงานเพื่อสั่งสมประสบการณ์ เส้นทางสายอาชีพของผู้จัดการกองทุนสามารถเป็นผู้จัดการกองทุนตามความเชี่ยวชาญต่าง ๆ เช่น ผู้จัดการกองทุนตราสารหนี้ ผู้จัดการกองทุนตราทุน ผู้จัดการกองทุนตราสารต่างประเทศ