ผู้จัดการฝ่ายกฎหมาย
ในหน้านี้
- การเป็นa ผู้จัดการฝ่ายกฎหมายเป็นอย่างไร
- วิธีการเป็นผู้จัดการฝ่ายกฎหมาย
- งานผู้จัดการฝ่ายกฎหมายล่าสุด
- ทักษะและประสบการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับผู้จัดการฝ่ายกฎหมาย
ตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายกฎหมายคืออะไร?
การเป็นผู้จัดการฝ่ายกฏหมายนั้นจำเป็นต้องมีทักษะด้านกฏหมายเป็นอย่างสูง เนื่องจากหน้าที่หลักคือ การดูแลงานกฏหมายทั่วไปให้กับบริษัทหรือองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการวางนโยบาย การดูแลสัญญาต่าง ๆ การป้องกันด้านกฏหมาย ไปจนถึงการให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยขวกับด้านกฏหมายให้กับบุคลากรในบริษัท และองค์กร การเป็นผู้จัดการฝ่ายกฏหมาย นอกจากจะต้องมีความรู้กฏหมายอย่างละเอียดแล้ว ยังต้องมีความสามารถในการจัดการ มีทักษะในการเจรจา เพราะบางครั้งอาจจะต้องเป็นตัวแทนของบริษัทในการทำข้อตกลงหรือเจรจา มีทักษะในการค้นคว้า จัดเก็บข้อมูล และยังต้องมีความละเอียดรอบคอบอีกด้วย
หน้าที่และความรับผิดชอบของ
- กำหนดนโยบายด้านกฏหมายให้กับบริษัทหรือองค์กร
- ดูแลสัญญา ร่างสัญญา และดูแลเอกสารที่เกี่ยวข้องทางกฏหมาย ให้กับบริษัทหรือองค์กร
- เป็นตัวแทนในการเจรจาด้านกฏหมายให้กับองค์กร
- ให้ความรู้ และคำแนะนำด้านกฏหมายกับผู้บริหาร หรือองค์กร
- ป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านกฏหมายที่เกิดขึ้น
- ทำการศึกษาและค้นคว้ากฏหมายใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้อง
อยากเป็นผู้จัดการฝ่ายกฎหมายต้องทำอย่างไร
การเป็นผู้จัดการฝ่ายกฏหมาย จำเป็นต้องจบการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขานิติศาสตร์เป็นอย่างน้อย และควรมีประสบการณ์การทำงานด้านกฏหมายมาประมาณ 3-5 ปี
- 1.
จบการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขานิติศาสตร์ โดยใช้เวลาในการเรียนทั้งหมดสี่ปี และเข้ารับการฝึกงาน หรือสมัครงานในตำแหน่งที่เกี่ยวข้อง และทำงานเก็บเกี่ยวประสบการณ์
- 2.
ขอใบอนุญาตว่าความประเภทผู้ผ่านการฝึกงานในสำนักงานไม่น้อยกว่า 1 ปี หลังจากการจบการศึกษา และการฝึกงาน ต้องเข้าอบรมวิชาว่าความซึ่งแบ่งเป็นสองภาค คือ ภาคทฤษฎีและภาคปฎิบัติ แล้วเข้ารับการสอบสัมภาษณ์ต่อหน้ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เนื้อหาที่ใช้ในการสอบมีสามส่วน คือ ประสบการณ์ฝึกงาน หลักกฎหมาย และการซักถามพยาน เมื่อสอบสัมภาษณ์ผ่านแล้ว สำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ จะกำหนดวันอบรมจริยธรรมและเข้ารับการอบรมจริยธรรมและมารยาทนิติกร เมื่อสอบผ่าน จะได้ใบประกาศนียบัตร
- 3.
เมื่อได้รับใบประกาศนียบัตรแล้ว ก็จะต้องนำใบประกาศนียบัตรดังกล่าวไปยื่นเพื่อสมัคร สามัญสมาชิก (กรณีผู้สอบผ่านเนติฯ) หรือ วิสามัญสมาชิก (กรณีผู้ที่สอบไม่ผ่านเนติฯ) กับ เนติบัณฑิตยสภา หลังจากได้รับการอนุมัติให้เป็นสามัญสมาชิกหรือวิสามัญสมาชิกแล้ว ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนใบอนุญาตให้เป็นนิติกร
- 4.
สมัครงานในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องเพื่อสั่งสมประสบการณ์ ในระหว่างนั้นสามารถเรียนต่อเฉพาะทางด้านที่สนใจ เช่น กฏหมายแพ่งและพาณิชย์ กฏหมายด้านลิขสิทธิ์ เป็นต้น
- 5.
ทำงานประมาณ 3-5 ปีเพื่อสั่งสมประสบการณ์ จากนั้นสามารถสมัครงานหรือเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้จัดการฝ่ายกฏหมายได้
- 6.
เส้นทางสายอาชีพของผู้จัดการฝ่ายกฏหมายสามารถเลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายกฏหมาย หรือเปิดบริษัทของตัวเองได้