นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์
ตำแหน่งนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์คืออะไร?
หน้าที่หลักของนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ คือ การเข้าไปประเมินอาการ พร้อมให้การดูแลเบื้องต้นกับผู้ป่วย หรือผู้ประสบภัย ณ จุดเกิดเหตุ โดยจะต้องทำการดูแล ประคองอาการให้คงที่ก่อนถึงมือแพทย์ เช่น การทำ CPR การสอดท่อช่วยหายใจ การทำแผล ห้ามเลือดเบื้องต้น
หน้าที่และความรับผิดชอบของ
- ประเมินอาการของผู้ป่วย หรือผู้ประสบภัย
- ให้การรักษาตามอาการเบื้องต้นเพื่อประคองอาการก่อนส่งต่อให้แพทย์
- เคลื่อนย้ายผู้ป่วยหรือผู้ประสบภัยขึ้นรถพยาบาลอย่างระมัดระวัง และช่วยดูแลอาการระหว่างเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
- รายงานอาการและการรักษาเบื้องต้นให้แพทย์ทราบเมื่อผู้ป่วยถึงโรงพยาบาล
- ทำรายงานที่เกี่ยวข้อง และประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องในการรักษา
การเป็นนักปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์นั้น นอกจากจะต้องมีความรู้ด้านการปฐมพยาบาลผู้ป่วย และความรู้เบื้องต้นด้านการแพทย์แล้ว ยังต้องมีความใจเย็น ไม่ตระหนกตกใจง่าย มีความละเอียดรอบคอบ และต้องมีร่างกายที่แข็งแรง เนื่องจากสถานที่ทำงานส่วนใหญ่คือการนั่งรถพยาบาลไปกับผู้ป่วย และต้องทำงานในที่เกิดเหตุอีกด้วย
อยากเป็นนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ต้องทำอย่างไร
การเป็นนักปฏิบัติการฉุกเกฉินการแพทย์ จำเป็นต้องจบการศึกษาระดับปริญญาตรีเป็นอย่างน้อย และต้องผ่านการฝึกฝนและสั่งสมประสบการณ์ก่อนเริ่มทำงาน
- 1.
จบการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขา พาราเมดิกส์ โดยใช้เวลาในการศึกษาสี่ปี
- 2.
เข้าฝึกงานตามโรงพยาบาล หรือหน่วยรับเหตุฉุกเฉินในปีที่สี่ หรือหลังจากเรียนจบเพื่อสั่งสมประสบการณ์
- 3.
สมัครงานในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องตามโรงพยาบาล หรือหน่วยรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน ระหว่างนั้นสามารถเรียนทักษะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การจัดการ การเรียนต่อปริญญาโทในสาขาเฉพาะทาง เช่น ภาวะฉุกเฉินทางอายุรศาสตร์ ผู้ป่วยอุบัติเหตุ การดูแลผู้ป่วยอุบัติภัยหมู่ เป็นต้น
- 4.
ในอนาคตสามารถเลื่อนตำแหน่งไปในระดับหัวหน้างานได้ในอนาคต