ผู้จัดการด้านความปลอดภัย
ในหน้านี้
- การเป็นa ผู้จัดการด้านความปลอดภัยเป็นอย่างไร
- วิธีการเป็นผู้จัดการด้านความปลอดภัย
- งานผู้จัดการด้านความปลอดภัยล่าสุด
- ทักษะและประสบการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับผู้จัดการด้านความปลอดภัย
ตำแหน่งผู้จัดการด้านความปลอดภัยคืออะไร?
ผู้จัดการด้านความปลอดภัย มีหน้าที่หลักในการกำหนดนโยบายการทำงานของแผนกรักษาความปลอดภัย พร้อมทั้งวางมาตรการความปลอดภัยในที่ทำงาน ฝึกสอน และให้ความรู้ด้านความปลอดภัยกับพนักงานให้ทำตามข้อกำหนดความปลอดภัย พร้อมกับประสานงานกับแผนกอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและกำหนดงบประมาณในการทำงาน แผนกการดูแลรักษาความปลอดภัย เป็นแผนกจำเป็นที่กฎหมายได้กำหนดบังคับให้ผู้ประกอบการในโรงงานอุตสาหกรรม การไฟฟ้า การประปา โรงแรม โรงพยาบาล งานเหมืองแร่ ห้างสรรพสินค้า สถาบันการเงิน และกิจการอื่นตามที่กระทรวงแรงงานประกาศกำหนดจำเป็นต้องมี ดังนั้น การเป็นผู้จัดการด้านความปลอดภัย จึงต้องมีความรู้เบื้องลึกเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยเป็นอย่างดี การเป็นผู้จัดการด้านความปลอดภัยจำเป็นต้องมีความรอบคอบ ช่างสังเกต และต้องมีร่างกายที่แข็งแรง และพร้อมที่จะทำงานอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังต้องมีทักษะในการบริหารเวลา บริหารบุคคล และทักษะการติดต่อสื่อสารที่ดีอีกด้วย
หน้าที่และความรับผิดชอบของ
- กำหนดนโยบายการทำงานของแผนกรักษาความปลอดภัย
- ดูแลการทำงานของบุคลากรในแผนกให้เป็นไปอย่างราบรื่น
- กำหนดงบประมาณที่ใช้ในการทำงาน และ ดูแลการทำงานให้อยู่ในงบที่กำหนด
- ประเมินความปลอดภัยของที่ทำงาน และออกแบบมาตรการความปลอดภัย
- ฝึกสอน ให้ความรู้เรื่องมาตรการความปลอดภัยในที่ทำงานกับพนักงานในแผนก
- หากเกิดเหตุขัดข้อง ต้องประสานงานกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อสอบสวน และแก้ไข พร้อมวางมาตรการป้องกันในลำดับต่อไป
- ติดต่อประสานงานกับผู้ผลิตในการจัดซื้ออุปกรณ์รักษาความปลอดภัย และคอยตรวจสอบอุปกรณ์ให้สามารถใช้ได้ดีอยู่เสมอ
- ติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ราชการเพื่อทำการประเมิน และขอเอกสารรับรองด้านความปลอดภัยที่จำเป็น
- จัดทำรายงานเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย และรายงานให้ผู้บริหารหรือผู้เกี่ยวข้องทราบ
อยากเป็นผู้จัดการด้านความปลอดภัยต้องทำอย่างไร
เส้นทางการเป็นผู้จัดการด้านความปลอดภัย จำเป็นต้องจบการศึกษาระดับปริญญาตรีเป็นอย่างน้อย และผู้ประกอบการมักจะมองหาผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานมาบ้างแล้ว
- 1.
จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หรือวิทยาศาตร์ความปลอดภัย หรือในสาขาที่เกี่ยวข้อง
- 2.
หลังจากจบการศึกษาในสาขาอาชีวอนามัย สามารถสมัครงานเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับวิชาชีพ และทำงานเพื่อสั่งสมประสบการณ์
- 3.
เส้นทางสายอาชีพของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ในระหว่างทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับวิชาชีพ สามารถสั่งสมประสบการณ์ และเข้าอบรมและสมัครสอบใบอนุญาต ใบประกาศนียบบัตรเพื่อเลื่อนตำแหน่งเป็น เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับเทคนิคขั้นสูง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับเทคนิค เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับบริหาร และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับหัวหน้างาน
- 4.
ระหว่างทำงานสามารถเรียนทักษะอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น การบริหาร การจัดการงบประมาณ หลังจากทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยประมาณ 5 ปี สามารถเลื่อนตำแหน่งไปเป็นผู้จัดการด้านความปลอดภัยได้