หัวหน้าฝ่ายผลิต
ในหน้านี้
- การเป็นa หัวหน้าฝ่ายผลิตเป็นอย่างไร
- วิธีการเป็นหัวหน้าฝ่ายผลิต
- งานหัวหน้าฝ่ายผลิตล่าสุด
- ทักษะและประสบการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับหัวหน้าฝ่ายผลิต
ตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายผลิตคืออะไร?
การเป็นหัวหน้าฝ่ายผลิตนั้น มีหน้าที่หลักในการกำหนดนโยบายการทำงานของฝ่ายผลิต กำหนด งบประมาณ ดูแลบุคลากรและการทำงานของแผนกการผลิตให้เป็นไปอย่างราบรื่น และทำงานให้ได้ตรงตามมาตรฐาน นอกจากนี้ยังต้องติดต่อประสานงานกับบริษัทภายนอกเพื่อที่เกี่ยวข้อง เพื่อดูแลการสั่งซื้อวัตถุดิบ ขนส่ง หรือใช้บริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย การเป็นหัวหน้าฝ่ายผลิตนั้น จำเป็นต้องมีความรู้เบื้องลึกเกี่ยวกับธุรกิจที่องค์กรทำอยู่ และยังต้องมีทักษะในการบริหาร การจัดการเป็นอย่างสูง เพราะจำเป็นต้องดูแลพนักงานในทีม และดูแลการผลิตให้เป็นไปอย่างราบรื่น พร้อมต้องมีทักษะในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังต้องมีทักษะในการติดต่อสื่อสาร และบริหารงบประมาณได้อย่างดีอีกด้วย
หน้าที่และความรับผิดชอบของ
- กำหนดนโยบายการทำงาน วางแผนการผลิต พร้อมกำหนดงบประมาณ กำลังคน และระยะเวลาในการผลิต
- สำรวจขั้นตอนการผลิต พร้อมปรับแผน และพัฒนาแผนการผลิตให้ดีขึ้น
- ดูแลการทำงานและความปลอดภัยโดยรวมของบุคลากรในแผนกการผลิตให้เป็นไปอย่างราบรื่น
- ติดต่อประสานงานกับแผนกที่เกี่ยวข้อง รวมถึงบริษัทภายนอกเพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น
- ควบคุม ดูแลให้ขั้นตอนการผลิตสินค้าเป็นไปอย่างราบรื่น
- ทำรายงานเกี่ยวกับการผลิต และนำเสนอให้ผู้บริหาร ลูกค้าหรือผู้เกี่ยวข้องทราบ
- ป้องกันและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการผลิต
อยากเป็นหัวหน้าฝ่ายผลิตต้องทำอย่างไร
การเป็นหัวหน้าฝ่ายผลิตจำเป็นต้องมีประสบการณ์การทำงานมาแล้ว นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังมักจะมองหาผู้สมัครที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีเป็นอย่างน้อย
- 1.
จบการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจขององค์กร หรือ การจัดการ การบริหารธุรกิจ หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- 2.
สมัครงานในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องในระดับพนักงาน และทำงานเพื่อสั่งสมประสบการณ์ประมาณ 3-5 ปี
- 3.
ระหว่างนั้นสามารถเรียนทักษะอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น การใช้ซอฟต์แวร์เพื่อเก็บข้อมูล การเรียนต่อปริญญาโทด้านการจัดการ การเรียนภาษาอังกฤษเป็นต้น
- 4.
หลังทำงานสั่งสมประสบการณ์แล้ว สามารถสมัครหรือเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้จัดการฝ่ายผลิตได้ และทำงานเพื่อสั่งสมประสบการณ์ ระหว่างทำงานสามารถเรียนทักษะอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น การจัดสรรงบประมาณ การบริหารคน เป็นต้น
- 5.
หลังจากทำงานในตำแหน่งผู้จัดการประมาณ 5 ปี สามารถเลื่อนตำแหน่งไปในระดับหัวหน้าฝ่ายผลิตได้