บรรณาธิการ
ในหน้านี้
- การเป็นa บรรณาธิการเป็นอย่างไร
- วิธีการเป็นบรรณาธิการ
- งานบรรณาธิการล่าสุด
- ทักษะและประสบการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับบรรณาธิการ
ตำแหน่งบรรณาธิการคืออะไร?
การเป็นบรรณาธิการนั้นจำเป็นต้องมีความสามารถทางด้านภาษาเป็นอย่างสูง เพราะจำเป็นต้องทำงานคู่กับนักเขียนและแผนกอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อทำการเขียนคอนเทนต์ หรือบทความที่ได้รับมอบหมายมา บรรณาธิการจะมีหน้าที่หลักในการตรวจทานความถูกต้องของข้อมูล ความถูกต้องของหลักไวยากรณ์ ตัวสะกด และเนื้อหาโดยรวม ซึ่งเนื้อหาคอนเทนต์นี้สามารถรวมไปถึงบทความในนิตยสาร เนื้อหาในโซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ หรือสื่ออื่น ๆ การเป็นบรรณาธิการนั้นต้องมีความรู้รอบตัวเป็นอย่างดี เพราะเนื้อหาในการสร้างคอนเทนต์อาจจะแตกต่างกันไป นอกจากนี้ยังต้องมีทักษะการสื่อสารที่ดีมาก เพราะจำเป็นต้องดูภาพรวมการถ่ายทอดเนื้อหาออกมาให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย และต้องประสานงานกับแผนกอื่น ๆ เช่น แผนกการตลาด หรือการประชาสัมพันธ์อีกด้วย นอกจากนี้ยังต้องมีทักษะในการบริหารเวลา และบริหารคนที่ดีอีกด้วย
หน้าที่และความรับผิดชอบของ
- ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา ตัวสะกด และไวยกรณ์ไปจนถึงภาพรวมของเนื้อหา
- ทำงานร่วมกับนักเขียน โดยคอยให้ข้อคิดเห็นหรือคำแนะนำที่เกี่ยวข้อง
- ประสานงานกับแผนกอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อรับมอบหมายงาน เช่น แผนกการตลาด แผนกประชาสัมพันธ์ หรือรับมอบหมายงานจากลูกค้า
- ตรวจความถูกต้องของเนื้อหา และดูความเหมาะสมของสื่อที่จะลงเนื้อหานั้น ๆ
- หาความรู้รอบตัวเกี่ยวกับสื่อโซเชียลต่าง ๆ และความรู้ด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอ
อยากเป็นบรรณาธิการต้องทำอย่างไร
การเป็นบรรณธิการจำเป็นต้องเรียนจบปริญญาตรีในสาขาอักษรศาสตร์ หรือการสื่อสารเป็นอย่างน้อย และควรมีประสบการณ์การทำงานเป็นนักเขียนหรือนักสร้างคอนเทนต์มาก่อน
- 1.
จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ในสาขาอักษรศาสตร์ การสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- 2.
สมัครงานในตำแหน่งนักเขียน หรือนักสร้างคอนเทนต์ เพื่อสั่งสมประสบการณ์ ระหว่างทำงานสามารถเรียนทักษะอื่น ๆ ที่จำเป็นเพิ่มเติม เช่น การบริหาร การสื่อสาร การทำ SEO สื่อดิจิทัล เป็นต้น
- 3.
หลังจากทำงานเป็นนักเขียน หรือนักสร้างคอนเทนต์ประมาณ 3-5 ปี สามารถเลื่อนตำแหน่งไปเป็นบรรณาธิการได้
- 4.
เส้นทางสายอาชีพของบรรณาธิการ สามารถเลื่อนตำแหน่งไปเป็น บรรณาธิการบริหารได้ในอนาคต