ผู้ทำบัญชี
ในหน้านี้
- การเป็นa ผู้ทำบัญชีเป็นอย่างไร
- วิธีการเป็นผู้ทำบัญชี
- งานผู้ทำบัญชีล่าสุด
- ทักษะและประสบการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับผู้ทำบัญชี
ตำแหน่งผู้ทำบัญชีคืออะไร?
การเป็นผู้ทำบัญชีต้องเป็นคนที่มีความละเอียดค่อนข้างสูง เนื่องจากหน้าที่หลักคือการจดบันทึกบัญชี และเป็นการลงบันทึกรายการทางการเงินประจำวันให้ถูกต้อง โดยอาจจะมีการใช้ซอฟต์แวร์บางชนิดในการช่วยเหลือด้านการเก็บข้อมูล นอกจากนี้ ผู้ทำบัญชียังต้องจัดกลุ่มและสรุปข้อมูลทางการเงินสำหรับทำรายงานด้วย ดังนั้นจึงควรมีทักษะด้านการคำนวณและวิเคราะห์ด้วยเช่นกัน
หน้าที่และความรับผิดชอบของ
- ลงบันทึกรายการทางการเงินประจำวันให้ถูกต้อง โดยอาจจะจัดเก็บข้อมูลในซอฟแวร์หรือไฟล์ เช่น Microsoft Excel หรือ Spreadsheet เพื่อช่วยให้ตรวจสอบได้ง่ายมากขึ้น
- ตรวจสอบความถูกต้องของรายการทางการเงินประจำวัน และตรวจสอบรายรับรายจ่ายประจำวัน
- รับหรือจ่ายเงินให้ตรงตามเวลาที่กำหนด
- ทำรายการจ่ายเงินเดือนของพนักงานในองค์กร
- ทำรายงานด้านการเงินและการบัญชีให้กับผู้จัดการและแผนกบริหาร
- กำหนดนโยบายทางการบัญชี และให้คำปรึกษาทางภาษีอากรของกิจการต่าง ๆ รวมไปถึงคอยตรวจสอบยอดรายรับและรายจ่ายให้ถูกต้อง
อยากเป็นผู้ทำบัญชีต้องทำอย่างไร
เส้นทางสายอาชีพของการเป็นผู้ทำบัญชี ควรผ่านหลักสูตรพื้นฐานด้านการบัญชี หลังจากนั้นสามารถสั่งสมประสบการณ์จากการทำงานตามองค์กรต่าง ๆ ได้
- 1.
จบการศึกษาในระดับอนุปริญญาตรี (ปวส.) หรือในระดับปริญญาตรีสาขาการบัญชีเป็นอย่างน้อย
- 2.
ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีโดยสมัครสมาชิกกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อสามารถดำเนินงานในตำแหน่งผู้ทำบัญชีได้ จากนั้นจะต้องทำการเก็บชั่วโมง CPD หรือ Continuing Professional Development ซึ่งเป็นหนึ่งข้อกำหนดหลังขึ้นทะเบียนผู้ทำบัญชีตามที่กฎหมายกำหนด โดยต้องมีการเก็บชั่วโมง CPD เป็นจำนวน 12 ชั่วโมงต่อปี ทั้งนี้กิจกรรมการเก็บชั่วโมงมีหลากหลาย เช่น การเข้าร่วมอบรมสัมมนา การจัดทำผลงานวิชาการ เป็นต้น
- 3.
ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสั่งสมประสบการณ์ในการจัดทำบัญชี
- 4.
ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้านโปรแกรมที่ใช้ในการทำบัญชี เช่น การใช้ Excel การใช้โปรแกรมคำนวณ เป็นต้น