เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมาย
ในหน้านี้
- การเป็นa เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายเป็นอย่างไร
- วิธีการเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมาย
- งานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายล่าสุด
- ทักษะและประสบการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมาย
ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายคืออะไร?
เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฏหมายเป็นผู้ที่ต้องมีความรู้ด้านกฎหมายเป็นอย่างดี และหน้าที่สำคัญคือ การร่าง ตรวจสัญญา บันทึกข้อตกลง ดูแลเอกสารทางกฏหมาย ประสานงานกับศาลคู่คดีความ หรือดูแลงานเกี่ยวกับทางกฏหมายให้กับองค์กร อีกทั้งยังต้องประสานงานกับทีมทนายความในการดำเนินคดีต่าง ๆ การเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฏหมาย จำเป็นต้องมีทักษะการประยุกต์ การวิเคราะห์ และมีความละเอียดรอบคอบเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังต้องมีทักษะในการสื่อสารและเจรจาต่อรองอีกด้วย
หน้าที่และความรับผิดชอบของ
- จัดทำเอกสารทางกฎหมายที่จำเป็นให้กับองค์กร
- ดูแลเรื่องการจดทะเบียนต่าง ๆ เช่น การจดทะเบียนการค้า ดูแลต่ออายุใบอนุญาตต่าง ๆ ให้กับองค์กร
- ประสานงานกับทีมทนายความขององค์กร
- ค้นคว้า และรวบรวมหลักฐานทางกฏหมายสำหรับการว่าความหรือการไกล่เกลี่ยคดีความ
- ให้คำแนะนำพร้อมแจ้งสิทธิทางกฏหมายให้องค์กรทราบ
- เป็นตัวแทนในการไกล่เกลี่ย ต่อรอง หรือเจรจาให้กับองค์กร พร้อมประสานงานกับศาล
- ค้นคว้าและศึกษากฏหมายใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมแจ้งให้องค์กรได้ทราบ
อยากเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายต้องทำอย่างไร
เส้นทางอาชีพของเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฏหมาย ควรเริ่มต้นจากการจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี ในสาขานิติศาสตร์ หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- 1.
จบการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขานิติศาสตร์ โดยใช้เวลาในการเรียนทั้งหมดสี่ปี และเข้ารับการฝึกงาน หรือสมัครงานในตำแหน่งที่เกี่ยวข้อง และทำงานเก็บเกี่ยวประสบการณ์
- 2.
ขอใบอนุญาตว่าความประเภทผู้ผ่านการฝึกงานในสำนักงานไม่น้อยกว่า 1 ปี หลังจากการจบการศึกษา และการฝึกงาน ต้องเข้าอบรมวิชาว่าความซึ่งแบ่งเป็นสองภาค คือ ภาคทฤษฎีและภาคปฎิบัติ แล้วเข้ารับการสอบสัมภาษณ์ต่อหน้ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เนื้อหาที่ใช้ในการสอบมีสามส่วน คือ ประสบการณ์ฝึกงาน หลักกฎหมาย และการซักถามพยาน เมื่อสอบสัมภาษณ์ผ่านแล้ว สำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ จะกำหนดวันอบรมจริยธรรมและเข้ารับการอบรมจริยธรรมและมารยาทนิติกร เมื่อสอบผ่าน จะได้ใบประกาศนียบัตร
- 3.
เมื่อได้รับใบประกาศนียบัตรแล้ว ก็จะต้องนำใบประกาศนียบัตรดังกล่าวไปยื่นเพื่อสมัคร สามัญสมาชิก (กรณีผู้สอบผ่านเนติฯ) หรือ วิสามัญสมาชิก (กรณีผู้ที่สอบไม่ผ่านเนติฯ) กับ เนติบัณฑิตยสภา หลังจากได้รับการอนุมัติให้เป็นสามัญสมาชิกหรือวิสามัญสมาชิกแล้ว ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนใบอนุญาตให้เป็นนิติกร
- 4.
สมัครงานในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องเพื่อสั่งสมประสบการณ์ ในระหว่างนั้นสามารถเรียนต่อเฉพาะทางด้านที่สนใจ เช่น กฏหมายสิ่งแวดล้อม กฏหมายอาญา เป็นต้น
- 5.
หลังจากทำงานเพื่อสั่งสมประสบการณ์แล้วสามารถเลื่อนตำแหน่งเป็นระดับหัวหน้างานได้ในลำดับต่อไป