บรรณารักษ์
ในหน้านี้
- การเป็นa บรรณารักษ์เป็นอย่างไร
- วิธีการเป็นบรรณารักษ์
- ทักษะและประสบการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับบรรณารักษ์
ตำแหน่งบรรณารักษ์คืออะไร?
หน้าที่หลักของบรรณารักษ์คือการจัดการ ดูแลบริการทั่วไปในห้องสมุด โดยเริ่มตั้งแต่จัดหาและคัดเลือกหนังสือเข้าห้องสมุด วิเคราะห์และจัดหมวดหมู่หนังสือ ให้บริการยืม - คืนหนังสือ ช่วยค้นคว้า หาอ้างอิง สืบค้นข้อมูล และให้คำแนะนำในการค้นหาหนังสือให้กับผู้ใช้บริการ ไปจนถึงพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดให้สามารถใช้งานได้อยู่เสมอ
หน้าที่และความรับผิดชอบของ
- จัดตั้งและวางนโยบายการใช้ห้องสมุดและควบคุมดูแลการใช้งานห้องสมุด
- จัดหาและคัดเลือกหนังสือเข้าห้องสมุด พร้อมวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่หนังสือ
- ช่วยเหลือผู้เข้าใช้บริการในการจัดหาหนังสือที่ต้องการ ให้คำแนะนำในการสืบค้นหนังสือ หรือให้บริการสารสนเทศที่จำเป็น รวมถึงให้บริการยืม - คืนหนังสือ
- สอนการใช้งานวิธีการสืบค้นห้องสมุดให้กับผู้เข้าใช้งาน
- จัดเก็บนิตยสาร สิ่งพิมพ์และสื่ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้มีข้อมูลที่อัปเดตที่สุด และจัดเก็บให้เป็นระเบียบ
- ค้นหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่สามารถช่วยในการจัดเก็บข้อมูล จัดหมวดหมู่และค้นหาหนังสือ
- จัดการงบประมาณในการดูแลห้องสมุด และควบคุมดูแลให้อยู่ในงบประมาณ
- จัดการสมัคร หรือต่ออายุสมาชิกให้กับผู้ใช้งาน
- ประสานงานกับสำนักพิมพ์ หรือนักเขียนเพื่อเชื่อมสัมพันธ์ และจัดกิจกรรมภายในห้องสมุด
การเป็นบรรณารักษ์จำเป็นต้องมีทักษะในการจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ การสืบค้น รักการเรียนรู้ มีใจรักบริการ ที่สำคัญควรจะพร้อมที่จะเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ อยู่เสมอ เนื่องจากในปัจจุบัน การสืบค้นเนื้อหาส่วนใหญ่จะเป็นการค้นข้อมูลผ่านสารสนเทศออนไลน์ จึงควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับซอฟต์แวร์หรือเทคโนโลยีที่ใช้ในห้องสมุดอีกด้วย การเป็นบรรณารักษ์สามารถทำงานในห้องสมุดของโรงเรียน มหาวิทยาลัย ไปจนถึงทำงานในห้องสมุดขององค์กรวิจัย องค์กรเอกชน และสถาบันต่าง ๆ ได้
อยากเป็นบรรณารักษ์ต้องทำอย่างไร
การเป็นบรรณารักษ์นั้นจำเป็นต้องจบการศึกษาระดับปริญญาตรี และสามารถเรียนทักษะอื่น ๆ เสริมได้
- 1.
จบการศึกษาระดับปริญญาตรีในคณะอักษรศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศิลปศาสตร์ สังคมศาสตร์ ในสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- 2.
เข้าฝึกงานหรือสมัครงานในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องเพื่อสั่งสมประสบการณ์
- 3.
หาความรู้เพิ่มเติมในสาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาษาอังกฤษ การจัดเก็บข้อมูล การใช้ซอฟต์แวร์ใหม่ ๆ ฯลฯ
- 4.
เส้นทางสายอาชีพของบรรณารักษ์สามารถเลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าบรรณารักษ์ได้