นักจิตวิทยา
ในหน้านี้
- การเป็นa นักจิตวิทยาเป็นอย่างไร
- วิธีการเป็นนักจิตวิทยา
- ทักษะและประสบการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับนักจิตวิทยา
ตำแหน่งนักจิตวิทยาคืออะไร?
การเป็นนักจิตวิทยานั้น มีหน้าที่คล้ายคลึงกับจิตแพทย์ เพียงแต่จะไม่สามารถทำการวินิจฉัยโรคได้ แต่จะเป็นการใช้แบบทดสอบต่าง ๆ มาใช้ในการประเมินสภาพทางจิตของผู้รับคำปรึกษา และใช้การบำบัดทางจิตโดยไม่มีการใช้ยามาเป็นส่วนประกอบ มีเพียงการพูดคุย การฝึกความคิด หรืออาจมีกิจกรรมบางอย่างเข้าช่วย คุณสมบัติหลักของการเป็นนักจิตวิทยานั้น ต้องมีทักษะการวิเคราะห์เป็นอย่างสูง ความเห็นอกเห็นใจเป็นอย่างมาก มีใจที่เปิดกว้าง และมีหลักการในการสื่อสารที่ดี เพื่อที่จะได้สื่อสารกับผู้ป่วยได้อย่างถูกหลัก
หน้าที่และความรับผิดชอบของ
- ประเมิน และวินิจฉัยสภาพจิตใจของผู้รับการบำบัดด้วยการใช้แบบทดสอบ แบบฝึกหัด หรือแบบประเมิน พร้อมทั้งพูดคุย ซักถามถึงความรู้สึก และปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิต
- พูดคุยเกี่ยวกับอารมณ์ อาการของผู้รับการบำบัด
- สร้างจุดม่งหมายในการบำบัดร่วมกับผู้เข้ารับการบำบัด
- ออกแบบแผนการ แบบฝึกหัด และกิจกรรมที่จะช่วยให้ผู้เข้ารับการบำบัดให้มีสภาพจิตใจที่ดีขึ้น
- บันทึกความคืบหน้าของการให้คำปรึกษา พร้อมปรับปรุงแผนการที่จะช่วยเยียวยาจิตใจผู้เข้ารับการบำบัดให้เหมาะสม
อยากเป็นนักจิตวิทยาต้องทำอย่างไร
เส้นทางในการเป็นนักจิตวิทยา นอกจากทักษะการฟัง การเห็นอกเห็นใจ และมีใจที่เปิดกว้างแล้ว ควรจะเข้ารับการศึกษาในระดับปริญญาตรีเป็นอย่างน้อย พร้อมทั้งมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
- 1.
จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี ในสาขาจิตวิทยา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นอย่างน้อย
- 2.
เรียนเพิ่มเติมในสาขาต่าง ๆ เช่น จิตวิทยาการศึกษา จิตวิทยาสังคม จิตวิทยาการแนะแนว เพื่อสามารถไปทำงานในสายที่สนใจได้ โดยในระหว่างเรียน จะมีการเข้าฝึกงาน หรือเข้าสังเกตการณ์เพื่อเพิ่มประสบการณ์
- 3.
เรียนต่อหลักสูตรอบรม 6 เดือนเพื่อสอบใบประกอบโรคศิลป์สาขาจิตวิทยาคลินิก และต่อใบอนุญาตทุก ๆ 3 ปี
- 4.
สมัครงานในตำแหน่งที่เกี่ยวข้อง และทำงานเพื่อสั่งสมประสบการณ์
- 5.
เส้นทางสายอาชีพของนักจิตวิทยานั้นสามารถเลื่อนตำแหน่งเป็นระดับหัวหน้างานได้