นักสังคมสงเคราะห์
ในหน้านี้
- การเป็นa นักสังคมสงเคราะห์เป็นอย่างไร
- วิธีการเป็นนักสังคมสงเคราะห์
- ทักษะและประสบการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับนักสังคมสงเคราะห์
ตำแหน่งนักสังคมสงเคราะห์คืออะไร?
หน้าที่หลักของนักสังคมสงเคราะห์คือการช่วยเหลือ บรรเทา และป้องกันปัญหาทางสังคมที่เกิดขึ้น เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาการว่างงาน ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เป็นต้น โดยนักสังคมสงเคราะห์ จะเข้าไปหาผู้ที่ประสบเคราะห์ ประเมินสถานการณ์และหาทางช่วยเหลือ อีกทั้งให้คำแนะนำ และพร้อมช่วยแก้ปัญหาไปจนถึงหาวิธีป้องกัน และวางแนวทางไม่ให้ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นอีก นักสังคมสงเคราะห์สามารถทำงานกับองค์กรของรัฐ องค์กรอิสระ หรือ เป็นผู้ให้คำปรึกษาในองค์กร หรือคลินิก และควรมีทักษะในการสื่อสาร มีความรู้ด้านจิตวิทยาเป็นอย่างดี มีใจเมตตา มีใจบริการ และต้องมีความอดทนเป็นอย่างมาก
หน้าที่และความรับผิดชอบของ
- ประเมินปัญหาทางสังคม พร้อมกำหนดและวางนโยบายในการแก้ปัญหาและช่วยเหลือ
- ซักประวัติ และให้คำปรึกษากับผู้ประสบเคราะห์ และให้ความช่วยเหลือตามมาตรการที่เหมาะสม
- ประสานงานกับหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกัน บรรเทา หรือช่วยเหลือปัญหาสังคมที่เกิดขึ้น
- วางนโยบายการบำบัด การป้องกันภัย และนโยบายความปลอดภัยให้กับผู้ประสบเคราะห์
- ทำรายงานความคืบหน้าในโครงการพร้อมรายงานให้ผู้เกี่ยวข้อง
- เข้าแทรกแซงปัญหาทางสังคมและหาทางแก้ไข
อยากเป็นนักสังคมสงเคราะห์ต้องทำอย่างไร
การเป็นนักสังคมสงเคราะห์จำเป็นต้องจบการศึกษาระดับปริญญาตรีเป็นอย่างน้อย และควรเรียนต่อในสาขาที่เกี่ยวข้อง
- 1.
จบการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ สาขาจิตวิทยา หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- 2.
เรียนเพิ่มเติมในสาขาที่สนใจ เช่น เศรษฐศาสตร์ กฏหมายเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว หรือ จิตวิทยาเด็ก
- 3.
สมัครงานในตำแหน่งที่เกี่ยวข้อง หรือทำงานเป็นอาสาสมัครเพื่อสั่งสมประสบการณ์
- 4.
ระหว่างทำงานสามารถเรียนทักษะอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น การสื่อสาร การจัดการ เป็นต้น
- 5.
เส้นทางสายอาชีพนักสังคมสงเคราะห์ สามารถเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ หรือระดับผู้บริหารได้ในอนาคต