สถาปนิกด้านโซลูชัน
ในหน้านี้
- การเป็นa สถาปนิกด้านโซลูชันเป็นอย่างไร
- วิธีการเป็นสถาปนิกด้านโซลูชัน
- งานสถาปนิกด้านโซลูชันล่าสุด
- ทักษะและประสบการณ์ที่ดีที่สุดสำหรับสถาปนิกด้านโซลูชัน
ตำแหน่งสถาปนิกด้านโซลูชันคืออะไร?
หน้าที่หลักของ สถาปนิกด้านโซลูชัน คือการประเมินปัญหาที่องค์กรมี แล้วทำการออกแบบวิธีการแก้ปัญหาด้วยการใช้ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ Network หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ไปจนถึงการออกแบบนโยบายใหม่เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาทางธุรกิจได้อย่างราบรื่น ดังนั้นการเป็น สถาปนิกด้านโซลูชัน จึงต้องเป็นที่มีความรอบรู้ในหลายด้าน ทั้งธุรกิจที่องค์กรทำอยู่ ความรู้พื้นฐานในการสร้างซอฟต์แวร์ การเขียนโค้ด การออกแบบ เป็นต้น นอกจากความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีแล้ว ควรมีทักษะในการรับฟังและสื่อสารได้ดี เพราะต้องเป็นผู้รับฟังความต้องการของลูกค้าหรือผู้ใช้งานแล้วนำมาออกแบบเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสม และยังควรมีทักษะในการบริหารเวลาที่ดีอีกด้วย
หน้าที่และความรับผิดชอบของ
- ประเมินปัญหาที่องค์กรมีอยู่ และออกแบบวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับองค์กร
- ติดต่อประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องในแผนกอื่น ๆ เพื่อเก็บรวงรวมข้อมูลที่จำเป็น
- ทำรายงานนำเสนอปัญหา และทางออกที่เหมาะสมและนำเสนอต่อผู้เกี่ยวข้อง
- ดูแล และติดตามวิธีแก้ปัญหา พร้อมบันทึกผลและปรับปรุงวิธีการแก้ปัญหา
- ติดต่อประสานงานกับผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหา
- กำหนดนโยบายการทำงาน นำเสนอต่อผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้อง
- ติดตามความรู้ด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ อยู่เสมอ
อยากเป็นสถาปนิกด้านโซลูชันต้องทำอย่างไร
เส้นทางในการเป็น สถาปนิกด้านโซลูชัน นั้นควรมีทักษะการเขียนโค้ด และมีความรู้เรื่องการออกแบบ กาารแก้ปัญหาเกี่ยวกับระบบเป็นอย่างดี โดยสามารถเริ่มจากการเรียนในมหาวิทยาลัยในสาขาที่เกี่ยวข้อง
- 1.
จบการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาการคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- 2.
เรียนเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มทักษะที่จำเป็น เช่น การเขียน HTML, CSS, Javascript ฯลฯ การใช้งานเฟรมเวิร์ก เช่น React, JS ฯลฯ ไปจนถึงการใช้ภาษาเขียนโค้ดอื่น ๆ เช่น Python, Java, Ruby, SQL ฯลฯ
- 3.
สมัครงานในตำแหน่งที่เกี่ยวข้อง พร้อมทำงานสั่งสมประสบการณ์ โดยอาจจะเริ่มจากการเป็น Software Developer
- 4.
เส้นทางสายอาชีพของ สถาปนิกด้านโซลูชัน สามารถพัฒนาไปเป็นระดับหัวหน้างาน